การบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

Main Article Content

จีระภา มีหวายหลึม
สมาน อัศวภูมิ
พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา  3) ข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร  กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ปีการศึกษา 2564 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ใช้สถิติการวิเคราะห์ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร  พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่าโดยส่วนมากแสดงความคิดเห็นควรเปิดโอกาสให้มีการจัดประชุมชี้แจง ร่วมรับฟังแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานต่างๆ มีส่วนร่วมในการวางแผนและช่วยกันดำเนินงานตามขอบข่ายงานที่รับผิดชอบ มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนและการประเมินผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และให้มีส่วนร่วมในการแสดงความยินดี ชื่นชมกับผลสำเร็จร่วมกันทุกฝ่ายและทุกคนอย่างมีความเสมอภาคและโดยชอบธรรม มีส่วนร่วมในการเสนอผลงานและยึดมติที่ประชุมอย่างเป็นประชาธิปไตย

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

(ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. บริษัท สยามสปอรต์

ซินดิเคท จำกัด.

กิตติยา พิลาจันทร์. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ของครูผู้สอนกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 20. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 52 –100.

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน (2563). การมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของบุคลากรทาง

การศึกษาโรงเรียนหัวถนน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 63 – 84.

จิราพร พรมมีเดช (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมโรงเรียน

วัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา

จังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทวพร ขำเมธา. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มสระยายโสมสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเกิด ทองรัตนะ. (2546). ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พัชรี มนัสสนิท. (2560). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ

พิณญารัตน์ ทองเหลือง. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41จังหวัดกำแพงเพชร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ

บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.

วารสารศิลปากรศึกษาสาสตร์วิจัย, 9(1), 299-313.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. (2564). จุดเน้นเพื่อการพัฒนาคุณาภาพการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร.

สิทธิชัย อุตทาสา. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุภาวดี ใจภักดี. (2563). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2),

-34.

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อารยา แก้วประเสริฐ. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตเมืองสมุทร จังหวัดสมุทรสาคร.

http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/725.ru.

Baksh, A.M. (1995). The relationship between participative management and

job attitudes. Dissertation abstracts International, 56 (1995), 351-A.

Hoagland, J. L. (1986). Principal and Teacher Perception of Teacher

Participation in The Decision-making Process in Public Secondary

School With and Without A Collective Bargaining Contract.

Dissertation Abstracts International, 44(5), 355 - 378.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2008). Educational Administration Theory

Research and Practice. 8 th ed. McGraw - Hill Inc.

Parsons,J.L. (1994). An examination of the relationship between participative

Management and perceived institutional effectiveness in North Carolina community colleges. Dissertation Abstracts International, 45(3), 1351-A.