การวิเคราะห์ปัจจัยด้านภูมิหลังของครอบครัวและผู้อบรมเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ไพบูลย์ สุทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านภูมิหลังของครอบครัวและผู้อบรมเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ พ่อหรือแม่หรือผู้ปกครองที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี และที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของYamane (1967) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 จำนวน 392 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า (Rating scale) มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับ 0.27-0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านภูมิหลังของครอบครัว ได้แก่ที่ตั้งของครอบครัว ความเพียงพอของรายได้ 2) ปัจจัยด้านผู้อบรมเลี้ยงดูได้แก่ สถานภาพการสมรสของบิดามารดา อายุของผู้อบรมเลี้ยงดู ระดับการศึกษาของผู้อบรมเลี้ยงดู อาชีพของผู้ที่อบรมเลี้ยงดูและเวลาในการอบรมเลี้ยงดู

Article Details

บท
Research Articles

References

ชบา พันธุ์ศักดิ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ บรรทัพ. (2554). เสริมศักยภาพครอบครัว. สืบค้นจาก http://www.aihd.mahidol. ac.th/sites/default/files/images/new/pdf/seminar53/เสริมศักยภาพ ครอบครัว.pdf

ทัศนีย์ นาคุณทรง และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของ

ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(1) : 80-89.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ. (2563). การอบรมเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวไทย : การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ Journal of Nursing Science & Health. 43(1) : 1-9.

รุ่งลาวัลย์ ละอำคา. (2557). ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย: แก่นแห่งชีวิตที่เสริมสร้างได้จากครอบครัว. วารสารวิจัยและพัฒนาเพื่อสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1(2) : 33 – 44.

สุธรรม นันทมงคลชัย. (2559). ครอบครัวการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 46(3), 205-210.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค.

อารี จำปากลาย. (2552). เมื่อต้องเติบใหญ่ห่างไกลพ่อแม่: ลูกของพ่อแม่ที่ย้ายถิ่น ในมุมมองของปู่ย่า ตายาย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตรและพัชราภรณ์ พุทธิกุล. (2560). การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และนำเสนอนวัตกรรมที่เสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว. วารสารครุศาสตร์. 45(3). 188 – 205.

Center on the developing child. (2007). The Science of Early Childhood development: Three core concepts in early development. Retrieved from http://developingchild.harvard.edu/resources/three-core-concepts-in-early-development/

Department of Health, Ministry of Public Health. (2009) Growth and

development ofpreschool children 2007. Nonthaburi: Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public Health,

Isaranurug S, Nanthamongkolchai S, Kaewsiri D. (2005). Factors Influencing development of children aged one to under six years old. Journal of Med Assoc Thai 88:86-90.

MacMillan Education. (2014). MacMillan life skills: language is a life skill. http://www.macmillanenglish.com/uploadedFiles/wwwmacmillanenglishcom/Content/Campaign s/life-skills/The-Life-Skills-Handbook.pdf

Owens, A. (2009). Life skills. http://ncac.acecqa.gov.au/educator-resources/pcfarticles/Life_skills_Dec09.pdf

Patterson, J. (2012). Ways to teach life skills to young children. Retrieved March 20, 2014 , From http ://www.livestrong.com article/123413-teach-life-skills-youngchildren/.Article reviewed by Stephanie Skernivitz

Psychosocial center. (2013). Life Skills: Skills for Life, A handbook. International federation of Red Cross and Red Crescent Societies. Copenhagen Denmark. http://pscentre.org/resources/life-skills-skillsfor-life-a-handbook/

WHO. (1999). Partner in life skills education: conclusion from a United Nation interagency meeting. Department of mental health. Geneva. WHO.

WHO. (1994). Life skills education for children and adolescents in schools. Geneva: WHO.