การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศราวุธ เพ็งวัน
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์
แสงจันทร์ กะลาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลัง การได้รับการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโนนกุง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก จากประชากรประชากรนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส ขนาดเล็ก ที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 7 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 /2563  โรงเรียนบ้านโนนกุง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 6 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา 2) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสังคม (Social Learning Theory) ของแบนดูรา 3) แบบบันทึกภาวะโภชนาการ น้ำหนัก ส่วนสูงของนักเรียน 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนั้นมีค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างเรียนเท่ากับ 16.75 หลังเรียนเท่ากับ 8.79 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.92/80.57 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลัง การได้รับการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80 อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมอนามัย. (2560). รายงานประจำปีกรมอนามัย 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษร

กราฟฟิกแอนด์ดีไซน์

กรมอนามัย. (2561). รายงานประจำปีกรมอนามัย 2561. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษร

กราฟฟิกแอนด์ดีไซน์

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ยินดี วงศ์พัฒนกุล. (2553).การศึกษาโปรแกรมสุขศึกษาตามแนวคิดของแบนดูราเพื่อพัฒนา

พฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกิน. บัณฑิต

วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

โรงเรียนบ้านโนนกุง. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ตามเกณฑ์มาตรฐานจำแนกตามรายบุคคล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563.

โรงเรียนบ้านโนนกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

สิวิมล นางาม. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีแบนดูราเพื่อส่งเสริมทักษะ

ทางสังคมของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จ

เจ้าพระยา.

อภัสรา เอกมาตร. 2556. การจัดการชั้นเรียนตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูราที่มี

ต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านดงคำโพธิ์. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Bandura, A. (1963). The Role of Imitation in Personality. The Journal of

Nursery Education.18(3).

______. (1971). Social Learning Theory. New York: General Learning Press.

______. (1977). Social Learning Theory. 3rd ed., New Jersey: Prentice-Hall.

______. (1986). Social Foundations of Thought and Action. Englewood Cliffs,

NJ: Prentice- Hall.

______. (1997). Self Efficacy. New York: W.H. Freeman and Company.