ประสิทธิผลของการพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรมนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ณัฐิกา ราชบุตร
ดาริณี สุวภาพ
เครือวัลย์ ดิษเจริญ
ชนิดาวดี สายยืน

บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรม และ 2. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสมรรถนะด้านจริยธรรม ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจริยธรรม ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด  คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive  Sampling)จำนวน 74 คน กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรมตามแนวคิดการพัฒนาพฤติกรรมด้าน             การเรียนรู้ด้านจริยธรรมของ Piaget ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนการสอนรายวิชาสมาธิ จำนวน 15 ครั้งๆ ละ 3 ชั่วโมง  2) กิจกรรม Home room จำนวน 8 ครั้งๆละ 1 ชั่วโมง 3) กิจกรรมจิตอาสาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 3 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดสมรรถนะด้านจริยธรรม สำหรับนักศึกษาพยาบาล ของ จุลจีรา จันทะมุงคุณและคณะ (2560) ซึ่งสร้างขึ้นโดยอ้างอิงกรอบมาตรฐานของสภาการพยาบาล ค่า IOC เท่ากับ 0.60 -1.00 ค่าอํานาจจําแนก ได้เท่ากับ 0.94 -0.99 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) Cronbach’s alpha coefficient ได้เท่ากับ 0.99 เกณฑ์ประเมินค่าคะแนนที่ได้จากการวัดข้อมูลแบบอันตรภาค 4.21 – 5.00 คะแนนคือ ระดับสมรรถนะมากที่สุด  คะแนน 3.41 – 4.20 คะแนน ระดับสมรรถนะมาก คะแนน 2.61-3.40 คะแนน ระดับสมรรถนะปานกลาง คะแนน 1.81 – 2.60  คะแนน ระดับสมรรถนะน้อย และคะแนน 1.00-1.80  คะแนน ระดับสมรรถนะน้อยที่สุด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ Pair Sample t-test และ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรมสำหรับนักศึกษาพยาบาลสมรรถนะด้านจริยธรรม คะแนนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนพัฒนาเกือบทุกด้าน ดังนี้สมรรถนะด้านจริยธรรมภาพรวมเพิ่มขึ้นมากที่สุด (=4.48, S.D.=.34  =4.00, S.D.=.37) รองลงมา คือ ด้านความเสียสละ (=4.55, S.D.=.51  =4.34, S.D.=.59) การรักษาระเบียบวินัย ( =4.57, S.D.=.38 =4.39, S.D.=.44)   ความสามัคคี (=4.55, S.D.=.55  =4.36, S.D.=.69) 5) ความซื่อสัตย์ (=4.51, S.D.=.47 =4.32, S.D.=.66) ความอุตสาหะ ( =4.39, S.D.=0.63  =4.24, S.D.=0.62) และความรับผิดชอบ ( =4.39, S.D.=.44  =4.28, S.D.=.57) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะด้านจริยธรรม ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจริยธรรม ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะ ด้านความซื่อสัตย์  ด้านการรักษาระเบียบวินัย ด้านความเสียสละ ด้านความสามัคคี และจริยธรรมภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)  


 

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการฝ่ายพัฒนานักศึกษา. (2562). “คู่มือคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด”.ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.

แจ่มจันทร์ เทศสิงห์ และพวงแก้ว สาระโภค. (2563). “การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้

แนวคิดโรงพยาบาลคุณธรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา

พยาบาล”. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ; 6(1):108-122.

จุลจีรา จันทะมุงคุณ, ณัฐิกา ราชบุตร, ช่อทิพย์ แตงพันธ์ และเขมิกา เสียงเพราะ. (2562).

“การสร้างแบบสมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายวิชาชีพสำหรับ

นักศึกษาพยาบาล :มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย

ราชภัฏเพชรบุรี, 9 (2), 132-143.

เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี และ ศรุต นาควัชระ. (2561). “แนวทางการจัดการการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม โดยตั้งคำถามจากสถานการณ์สมมติ”.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 10 (2). 1-19.

ณัฐิกา ราชบุตร สมหมาย กุมผัน และพรวรินทร์ ธนินธิติพงศ์, (2563). “สมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 10 (2),182-190.

บุญชม ศรีสะอาด. (2542). “วอธรรมการทางสถิติสําหรับการวิจัย”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมควรริยาสาส์น.

พรศิริ พันธสี และเจตจรรยา บุญญกูล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมายในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10 (1), 81-94.

พรจันทร์ สุวรรณชาต. (2552).“พยาบาลกับการปรกอบวิชาชีพที่อาจถูกฟ้องร้องได้”.

วารสารการพยาบาล (Thai Journal of Nursing Council), 24(2), 11-13.

ลักษณี มีนะนนท์ ประไพพรรณ จิรันธร และ สุภาพ อารีเอื้อ (2542). “การรับรู้คุณลักษณะทางจริยธรรมจากกิจกรรมเสริมหลักสูตรและแหล่งประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี”. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 10(3), 216-237.

วริยา ชินวรรโณ. (2558).“จริยธรรมในวิชาชีพ”. นครปฐม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิริยาภรณ์ แสนสมรส, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์ และนพวรรณ ดวงจันทร์. (2560) .“คุณธรรม

จริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล : กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

ราชบุรี”. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 104-159.

สิวลี ศิริไล. (2556).“จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล”.พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.