การบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการบริหารที่บุคคลผู้บริหารใช้การจูงใจให้บุคคลผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมรับผิดชอบ เพื่อพัฒนางานที่ปฏิบัติให้มีคุณภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะของการรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจตลอดจนการประเมินผลให้ทุกฝ่ายได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน อันจะนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร และการนำหลักพุทธนวัตกรรมมาบูรณาการในการบริหารงานภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย เพื่อนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส การบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่สำคัญประกอบด้วย 1) ไตรสิกขา 2) กระบวนการเรียนรู้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 3) อปริหานิยธรรม และ 4) มัชฌิมาปฏิปทา
Article Details
References
กรมป่าไม้. (2550). คู่มือการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมป่าไม้.
จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2560). พุทธภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, สุพรรณบุรี.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554). พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 15 มกราคม
เวปไซต์ https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw
สำนักงานทะเบียนราษฏร์กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลประชากร 2561 กอง
ยุทธศาสตรและสารสนเทศที่อยูอาศัย. ฝายวิชาการพัฒนาที่อยูอาศัย การ
เคหะแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรไทย. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2565.
เวปไซต์ http://statbbi.nso.go.th
Sing-Udom, T. (2016). The Participation of Buddhist Practice. Pimoldhamma Research Institute Journal, 3(1), 17-32.