การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปรเมศร์ แก้วดุก
กาญจนา บุญส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร 2 คน ครู 4 คน ผู้นำชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น 6 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 6 ขั้นตอน ที่เรียกว่า PCCASE-CB 6 Steps ประกอบไปด้วย 1. การวางแผนหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Planning) 2. การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Create) 3. การตรวจพิจารณาคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Check) 4. การดำเนินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Apply) 5. การนิเทศกำกับติดตามการใช้หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Supervision) 6. การประเมินหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Evaluate) ซึ่งรูปแบบผ่านเกณฑ์การประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า 1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นทุกขั้นตอนโดยร่วมคัดเลือกพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และวางแผนการจัดทำหลักสูตร 2. ครูได้จัดทำองค์ความรู้ท้องถิ่นโดยผ่านการตรวจสอบจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รวมทั้งจัดทำองค์ประกอบของหลักสูตรท้องถิ่นอย่างครบถ้วน 3. ผลการตรวจพิจารณาคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่นนั้นมีความถูกต้องเหมาะสมซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งฉบับ 4. การทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนั้นทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดีต่อชุมชน 5. ผลการนิเทศและการประเมินหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนั้นอยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

กาญจนา บุญส่ง, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Phetchaburi Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา.พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ดวงนภา คณโทเงิน. (2561). แนวทางการบริหารหลักสูตรที่เสริมสร้างทักษะด้านอาชีพและการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนรัฐราษฎวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประเวศ เวชชะ. (2561). การบริหารหลักสูตร. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). พื้นฐานและหลักการศึกษา(Foundation and Principles Education). กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซับพลาย.

ปุณฑริก พรชนะวัฒนา. (2562). การบริหารหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดพะเยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พัฒนะ พิพัฒน์ศรี. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง การเขียนโปรแกรม Kid Bright สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

รังสันต์ โยศรีคุณ. (2556). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

โรจนะ ภิรมย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงระบบทวิภาคีโดยใช้วงจรคุณภาพสำหรับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เรณู บุญเสรฐ. (2561). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสู่ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วนิดา ศรีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนิสา รังสิพุฒิกุล. (2560). กรอบแนวคิดการพัฒนาการบริหารหลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี ของโรงเรียนสุทธิวราราม. วารสาร O J E D, 12(4), 807-823.

ไสยเพ็ญ เฉิดเจิม. (2560). การพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานกับการสร้างความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.