การเล่นบทบาทสมมติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ธีระวรรณ ผุสิงห์
นนทชนนปภพ ปาลินทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการเล่นบทบาทสมมติ และ 2) เปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการเล่นบทบาทสมมติก่อนและหลังการจัดประสบการณ์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปีที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563  โรงเรียนปทุมวิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 1  จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) ใช้เวลาในการทดลองรวม 4 สัปดาห์ ในวันจันทร์ - วันศุกร์ วันละ 40 นาที  เวลา 09.20 – 10.00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเล่นบทบาทสมมติ จำนวน 20 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ต่อกัน (dependent-samples t-test analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่น


บทบาทสมมติสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม 2) หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่นบทบาทสมมติ เด็กปฐมวัยมีทักษะ ทางภาษาของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

นนทชนนปภพ ปาลินทร , มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

References

จรรจา สุวรรณทัต, สาคร สามารถ และ ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร. (2533). ประมวล สังเคราะห์

ผลการวิจัยในประเทศไทยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

รสสุคนธ์ อยู่เย็น. (2557, พฤษภาคม-สิงหาคม). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน

ประกอบการแสดงบทบาทสมมติที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2. Veridian E-joural.7(2). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563, จาก. https://www.tcithaijo.org /index.php/ Veridian-E-Journal/article/download/17169/23483.html.

สุพัสษา บุพศิริ. (2560). ผลการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่า

นิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางด้านภาษาและการกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 9 (4) เดือนมกราคม-เมษายน.

สุภี วงศ์พลับ. (2555). การส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กวัยอนุบาลโดยใช้หนังสือนิทาน.

โรงเรียนเซนต์ หลุยส์: ฉะเชิงเทรา.

หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

อรุณี หรดาล. (2557). พัฒนาการและการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย. ในประมวลสาระชุด

วิชาพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน่วยที่ 5 น. 5-1 ถึง 5-44). นนทบุรี: สาขาวิชา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social

Cognitive Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.

Piaget, J. and B. Inhelder. (1689). The Psychology of the Child. New York :

Weaver, Helen, Basic Books,