การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูสู่ศตวรรษที่ 21

Main Article Content

พรทิพย์ เกิดถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางสมรรถนะของครูตามหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูสู่ศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูสู่ศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูสู่ศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูสู่ศตวรรษที่ 21 เครื่องมือในการวัดและประเมินผล ได้แก่ 1) การประเมินคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิตที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของครูตามหลักสูตรฝึกอบรมได้แก่ ด้านความรู้ 2 องค์ประกอบ ด้านทักษะ 2 องค์ประกอบ และด้านคุณลักษณะ 1 องค์ประกอบ 2) หลักสูตรและคู่มือประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด 3) ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนการอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอบรมในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
Research Articles

References

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นิ่งคอร์สแวร์ : แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอน

อีเลิร์นนิ่งในทุกระดับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พลอยไพลิน ศรีอ่ำดี. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียน

แบบแก้ปัญหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและ

ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสิรินทรราช

วิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ตระกูล แสงลับ. (2551). การศึกษาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ

ครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2559, จาก

: www.gotoknow.org/posts/341272.

Alexandra, E. A. (2004).The Effect of Constructionism Learning in the Social

Subject on Student Achievement and Analysis Thinking. Dissertation

Abstracts International. 51 (November).

Fred, S. (2005).The Constructionism Learning in the Music, Art toDevelopment

of Student’s Relationship. . Dissertation Abstracts International. 67

(June).

Jonassen, D.H. (1995). Supporting Communities of Learning: A Vision for

Integrating Technology with Learning in School. Educational

Technology, 50(06), 60-63.

Ministry of Education. (2018). 6 education reform Substantial success, human

Potential development. Office of the Minister Newsline.

Office of the Education Council. (2010). Self-Assessment Report: SAR. Institute

of Educational Testing Service.

Taba, H. (1962). Curriculum Development; Theory and Practice. New York:

Harcout, Plublishing. Blended Learning.