แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

วรีภรณ์ นระแสน
พระฮอนด้า วาทสทฺโท
สุนทร สายคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้ระเบียบวิจัย แบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร และครู จำนวน 214 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จำแนกรายด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากเรียงจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ทักษะการด้านคิดวิเคราะห์ และทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู คือ สำรวจความต้องการของบุคลากรในการพัฒนาตนเองเพื่อกำหนดแผนพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วิริยะ อุตสาหะ มอบหมายงานตามความถนัดและขีดความสามารถ ดูแลเอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน ให้โอกาสพบปะกับเพื่อนร่วมงานเพื่อสร้างความเป็นกัลยาณมิตร  ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเสมอต้นเสมอปลาย มีความเสียสละ มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี ให้ความช่วยเหลือต่อเพื่อนร่วมงาน อุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นปรึกษาที่ดี  ทำงานด้วยความสำเร็จและรับผิดชอบ เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจ มีใจเป็นกลาง วางเฉยเมื่อได้รับการปฏิเสธหรือการนินทาว่ากล่าว พิจารณาความชอบอย่างเป็นธรรม และรู้จักข่มใจ รักษาอารมณ์ได้มั่นคง เคารพสิทธิ์ของผู้ใต้บังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยเห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความรักและศรัทธาในอาชีพ ปฏิบัติตนอย่างซื่อสัตย์และเสมอต้นเสมอปลาย เสียสละ อุทิศเวลาในการทำงานเต็มที่  เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน มอบหมายงานตามความสามารถและช่วยเหลือผู้อื่น เป็นที่ปรึกษาที่ดี ทำงานด้วยความสำเร็จและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา วางตัวเป็นกลาง และวางเฉยต่อการปฏิเสธหรือการติฉินนินทา และพิจารณาความดีและความชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม สอดคล้องกับแนวคิดของหลักธรรมอิทธิบาท 4 ที่เป็นธรรมะที่ใช้ในการทำงาน  คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสา

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระฮอนด้า วาทสทฺโท , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สุนทร สายคำ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ธีระ รุญเจริญ.(2559). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ

สดศรีสฤษดิ์วงศ์.

บุญชม ศรีสะอาด, (2554), การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

บุญมี บุญเอี่ยม, (2544), ศึกษาการนำอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการทำงานศูนย์ควบคุมการบิน

ภูเก็ตบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ทักษิณ.

พิชญา ดำนิล. (2559). ภาวะผู้นำในสตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและ

ห้องเรียนเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ฟาร์อีสเทอร์น