การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขต อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม 7

Main Article Content

พระมหาอานันต์ อนนฺตปญฺญ
พระมหาวิรุธ วิโรจโน
พระครูวินัยธรวรขัด ปยุตฺโต
พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย
ชนาธิป ศรีโท

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม 7 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม7 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม7 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือประชาชนในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 397 คน โดยทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบคำที่ (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม 7 จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา และรายได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาเรื่องการส่งเสริมทักษะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม 7 โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเพิ่มเติม และควรศึกษาเรื่องการส่งเสริมทักษะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม 7 เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาพัฒนาทักษะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ตามแนวสัปปุริสธรรม 7  

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระมหาวิรุธ วิโรจโน, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

พระครูวินัยธรวรขัด ปยุตฺโต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

ชนาธิป ศรีโท, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

References

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2559 . ปกครองท้องถิ่น. (2559).

(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2016/06/file_221a8eadeab9b6d4ed9308c0403fc444.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล 18 มกราคม 2565).

ชัยรัตน์ มาสอน. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2552.) การบริหารจัดการงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สมาคม

รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณี

ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระปลัดคณิศร ขนฺติพโล. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของ

ประชาชน ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระจํารัส ฐิตธมฺโม. (2554). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารจัดการ

ชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิริชัย ตุลยสุข. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน

ในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

พิษณุโลก.

สุรชัย เจนประโคน. (2554). ประวัติการปกครองท้องถิ่นไทย.

เข้าถึงได้จาก http://surachaichenprakhon.blogspot.com/2011/04/blog-post_1627.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล 22 มกราคม 2565).