ภาวะผู้นำแบบรับใช้และวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลกระทบ ต่อการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ

Main Article Content

ปวิชญา สารสิทธิ์
รพีพร ธงทอง
ชัยยยศ จินารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะปัจจัยองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบรับใช้ วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ (2) เพื่ออธิบายและแสดงองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบรับใช้ วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ (3) เพื่อแสดงองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบรับใช้ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์กร และสามารถพยากรณ์ผลของการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ  และ (4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจัดการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ประจำตำบล ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ จำนวน 341 คน มาผสมรวมกันเข้ากับคำให้การสัมภาษณ์ของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 12 ท่าน สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแบบ t-test, F-test MANOVA สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำแบบรับใช้ วัฒนธรรมองค์กร และการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (  = 4.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ภาวะผู้นำแบบรับใช้ (  = 4.57) รองลงมาคือ การจัดการสุขภาพปฐมภูมิ (  = 4.36) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วัฒนธรรมองค์กร (  = 4.09) 2) ภาวะผู้นำแบบรับใช้ วัฒนธรรมองค์กร กับการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับน้อย ถึงปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า r = .55, .61 และ .50 3) การช่วยเหลือผู้อื่น การมองการณ์ไกล และการปฏิบัติงานด้วยคุณธรรม สามารถพยากรณ์การจัดการสุขภาพปฐมภูมิ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ประจำตำบล ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าพยากรณ์เท่ากับ .35, .18 และ .14 เรียงตามลำดับ รวมถึงมีอิทธิพลร่วมกันได้ที่ร้อยละ 38  4) การตระหนักถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลที่ร่วมกันปฏิบัติงาน ตลอดการเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำไปจนถึงการมีความเห็น หรือมีแนวคิดต่างกันเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ และความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ร่วมกันกับการให้ความสำคัญกับการพัฒนาหรือการยกระดับเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อื่น การมองการณ์ไกล และการปฏิบัติงานด้วยคุณธรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเหตุที่ส่งผลกระทบต่อ ความก้าวหน้าของระบบการจัดการสุขภาพปฐมภูมิ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

รพีพร ธงทอง , มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์

The Eastern University of Management and Technology

ชัยยยศ จินารัตน์, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

References

นันทิมา คงยืน. (2560). ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ กับมาตรฐานการพัฒนา, วารสารกฎหมายสุขภาพ และสาธารณสุข, 3(3), 374-387.

วริศา พานิชเกรียงไกร และคณะ (2560). การจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์, วารสารวิจัย ระบบสาธารณสุข, 11(2), 221-237.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Hanlon, J.J. (1974). Public Health Administration and Practice. Saint Louis: The C.V. Mosby Company.

James, E. (2006). Public health solutions through changes in policies, systems, and the built environment Washington. DC: Directors of health promotion and education.

Karatepe, et al (2019). Servant leadership, organisational trust, and bank employee Outcomes. Journal, 86-108

Lewis et al. (2012). Some Problems in Chartist Historiography Journal, (7) pp. 1093-1109.

Schneider et al. (2013). Organizational culture and leadership (2nd ed). San Francisco: Jossey-Bass.

Schwartz, & Tumblin, T. (2002). The Power of Servant Leadership to Transform Health Care Organizations for the 21st-Century Economy. Journal, 137(12):1419-1427.

Siat et al, S. (2015). Personal and organizational excellence through servant leadership. Dordrecht: Springer.

Spreitzer, G. M. (2012). “Social structural Characteristics of Psychological Empowerment”, in Academy of Management Journal, 39(2): 483-504.

Stone et al. (2014). Toward human sustainability: How to enable more thriving at work Snapshots of Thriving at wok. Organizational Dynamics, 41, 155-162.

Trastek et al. (2014). “Cognitive elements of empowerment: An ‘interpretive’ model of intrinsic task motivation”, in Academy of Management Review, 15(4): 666-681.