แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วรชาติ นามบุตร
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
ทรงเดช สอนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ (2) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์และ (3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 272 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ แบบสอบถาม แบบประเมินแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ สามารถเรียงลำดับทั้ง 8 ด้าน ได้ดังนี้ 1) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 4) ด้านการจัดการเรียนการสอน 5) ด้านการนิเทศการศึกษา 6) ด้านมาตรฐานการศึกษาและการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม  7) ด้านการวัดผล ประเมินผล และ 8) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้วิจัยได้จัดทำร่างแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ทั้งหมด 8 ด้าน ด้านละ 5 แนวทาง รวมทั้งหมด 40 แนวทาง 3) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบประเมิน จากผู้ทรงคุณวุฒิมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการจำนวน 5 คน ทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ศุภธนกฤษ ยอดสละ , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

ทรงเดช สอนใจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

References

ขนิษฐา ชนะศรี. (2559). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทัสนี วงศ์ยืน. (2555). การบริหารงานวิชาการ. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิรัชกร ทองน้อย. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

______.(2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

พัชรินทร โคตรสมบัติ. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสาคาม.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

เมตตา ภัทราภรณ์ไพบูลย์. (2556). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรินทร์ ปะนามะเก. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปี 2561. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อัตพร อุระงาม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.