การศึกษาอิทธิพลต่อการเลือกเข้าศึกษาในสถาบันสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สอาด มุ่งสิน
สมรัก ครองยุทธ
ปัทมา ผ่องศิริ

摘要

ตลาดการศึกษาในระดับวิทยาลัยทั้งของภาครัฐและเอกชนกำลังขยายตัวและมีการผลิตนักศึกษาด้านการพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อรองรับความต้องการผู้ที่จะศึกษาในด้านนี้มากขึ้นการวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่อการเลือกเข้าศึกษาในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขกับการเลือกเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในวิทยาลัยที่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยเลือกแบบเจาะจงวิทยาลัยที่มีการจัดกิจกรรมเปิดบ้าน(Open House) คือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามสาเหตุที่ท่านเลือกเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเข้าศึกษาในสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุขมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าการตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 (SD = .58, range =1.67-5)  ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถส่วนบุคคลเป็นตัวแปรทำนายที่ดีที่สุด ทำนาย ได้ร้อยละ 44.4 (β = 1.26, p < .001) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์เป็นตัวแปรทำนายลำดับที่สอง ทำนายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อย7.5 (β = .814, p < .001) ปัจจัยด้านอื่นๆเป็นตัวแปรทำนายลำดับที่สาม ทำนายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 6.3 (β = .70, p < .001) และ ตัวแปรปัจจัยด้านระบบการคัดเลือกเป็นตัวแปรทำนายลำดับที่สี่ ทำนายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2.4 (β = .65, p < .001) ตัวแปรทำนายทั้งสี่สามารถทำนายการเลือกเข้าศึกษาในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ได้ร้อยละ 60.6 (R2 = .606, Adjust R2 = .593, F48.049=7.57, p < .001)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles
##submission.authorBiographies##

##submission.authorWithAffiliation##

Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

##submission.authorWithAffiliation##

Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong

参考

Ihdigital. (2018). Marketing promotion strategy. Retrieved November 8, 2018, from https:// www.ihdigital.co.th/facebook-live-Marketing promotion strategy/ [in Thai]

Kotler, P. K. & Fox, F, A. (2002) Strategic Marketing for Education Institutions 2002, Upper Saddle River, New Yersey: Prentice-Hall

Bilgin, Y. (2018). The effect of social media marketing activities on brand awareness, brand image and brand loyalty (Business & Management Studies). Benchmarking: An International Journal, 6, 1.

Fernando, S. R. C. & Wijesundara, C. B. (2016). The Impact of Social Media on Brand Image: A Study of Higher Education Industry in Sri Lanka. 1st Student Research Conference on Marketing (pp. 62). Sri Lanka: University of Kelaniya.

Rungfamai, K. (2018). Marketing Approach for Higher Education Institutions: The Perspective of Students from the Field of Tourism and Hospitality. Suan Sunandha Academic & Research Review, 12(2), 18-27.

Oudnoon P. , Trakulkasemsuk P., & Mahasinpaisan T. . (2020). The effect of digital marketing communication strategies on private school image in eastern economic corridor area. Panyapiwat Journal, 12(3), 9–24.Retrievedfromhttps://so05.tcithaijo.org/ index.php/pimjournal/article/view/225335

Pangkratok, S. (2016). The image of Plutaluangwittaya school under the Chonburi Provincial Administrative Organization. Master’s Independent Study Faculty of Education, Burapha University. [in Thai]

Singweratham, N. & Kantabanlang, Y. (2017). Current Health Workforce and State of the Health Workforce Development Needs in the Thai Health System: a Report by the Phraboromarajchanok Institute (PBRI), the Ministry of Public Health (MOPH). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 218-225. (In Thai).

Singweratham, N., Nawsuwan, K., Kantabanlang, Y., Bunpean, A., Moongsin, S., & Kramutkant. R. (2017). Uniqueness and Identity of Praboromarajchanok Institute as Perceived by Students, Lecturers, Mentors, and Parents of the Students. Princess of Naradhiwas University Journal. 9(3): 60-70. (In Thai).

Sirisoponkitsakool, C. (2015). Marketing communication to related of corporate image of Kasikorn bank Cha-Am branch, Cha-Am District, Phetchaburi Province. Master’s thesis Faculty of Liberal Arts, Silpakorn University. [in Thai]

Suwanwong, N.(2017). Factors influencing the decision to study for a bachelor degree in Rajamangala University of Technology, Northeastern Nakhon Ratchasima (quota system) Academic year 2560. Nakon Rachasima: Rajamangala University of Technology, Northeastern. (In Thai).