ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พระเขมภูสิต เขมปญฺโญ (แทบศรี)
พระครูวินัยธรวรชัด ปยุตฺโต
พระมหาวิรุธ วิโรจโน
พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย
ชนาธิป ศรีโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 395 คน ที่เป็นประชาชนในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้ค่าไคสแควร์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความคิดเห็นต่อระดับในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ผลการการทดสอบความสัมพันธ์ของเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในด้านความยุติธรรม ด้านความซื่อสัตย์ ด้านการเสียสละ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านความรับผิดชอบ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น คือ ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพเสริม ทำสินค้าพื้นบ้านให้เป็นโอทอป และมีกองทุนกลางเพื่อพัฒนาพร้อมหาตลาดให้ประชาชนด้วย ควรจัดทำแผนโครงการพัฒนาหมู่บ้าน ควรสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส พร้อมติดตามผลโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูวินัยธรวรชัด ปยุตฺโต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

พระมหาวิรุธ วิโรจโน, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

ชนาธิป ศรีโท, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Mahamakut Buddhist University

References

กองบรรณาธิการบริหารเอกสารความรู้ สดร.. (2559). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก

http://www.pattani.go.th/stabundamrong/book1.pdf

คณะกรรมการบริหารงานอำเภออุบลรัตน์. (2563). แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. หน้า 1-13

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตราไว้ ณ วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 76, หน้า 19-20.

คำพร กองเตย. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จักรพงศ์ วงศ์พิทักษ์กุล. (2561). กลยุทธ ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระไตรปิฏก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์. (2525). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นำกุลบุตร 2 จำพวกนั้น. พิมพ์เนื่องในวโรกาส ครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักกรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525 พิมพ์ครั้งที่ 4/2542. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวร

พิชัย โสวจัสสตากุล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนายกเทศมนตรีกับความผูกพันตอองคการ ของพนักงาน เทศบาลตำบลนาปา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2544). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.

วิมาลย์ จันสีชา และ วารุณี นามโสม. (2563). สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน ตรวจสอบข้อมูลแยกรายพื้นที่ ระดับตำบล/แขวง. เขตพื้นที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น.

สรธรรศจ์ เอี่ยมลออ (2557) ลักษณะทางจิต ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และบรรยากาศองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานตามค่านิยมสร้างสรรค์ ของข้าราชการตำรวจนครบาล. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเทพ ปาลสาร. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หนูไกร มาเชค. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรณพ นิยมเดชา. (2557). การรับรู้บทบาทภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การความผูกพันต่อองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน องค์การธุรกิจค้าปลีกแห่งหนึ่ง โดยมีการสื่อสารในองค์การเป็นตัวแปรสื่อ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Davis, A.J. (2013). Moral leadership : the leadership of the future [Online]. Available : http://hdl.handle.net/2381/4149. [2018, January 10].