ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กับประสิทธิผล ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อมรรัตน์ เพชรมาศศรี
สุดารัตน์ สารสว่าง
สุชาดา นันทะไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  กับประสิทธิผลของสถานศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นไป กลุ่มทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประชากรได้แก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นไป กลุ่มทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 212 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง Krejcie & Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 137 คน ซึ่งเก็บข้อมูลได้จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 88.32 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในสถานการณ์ โควิด-19 ตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นไปกลุ่มทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นไป กลุ่มทวารวดี ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ของทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  กับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุดารัตน์ สารสว่าง , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

สุชาดา นันทะไชย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2565(Online).

https://moe360.blog/2021/06/30/education-management-policy/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Online).

http://www.ccs1.go.th/gis/eoffice/57000001tbl_

datainformation/20200703174943JQaUHUy..pdf.

กรรณิกา เรดมอนด์ . (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562).การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

พัชราพร ร่วมรักษ์ . (2559). การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 . บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณฑาทิพย์ นามนุ . (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิฑูรย สิมะโชคดี. (2541). การบริหารงานแบบคุณภาพ. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : เอเชียเพรส.

วินัย คำประดิษฐ์. (2547). องค์ประกอบที่สัมพันธ์เชิงสาเหตุกับประสิทธิผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพัตรา หมั่นนอก. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

อมรา พิมพ์สวัสดิ์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

Baird. (2006). Skill of an effective administrator. Harvard: Harvard Business Review.

Calman, R.C. (2010).Exploring the Underlying Traits of High-Performing School. Retrieved from http://www.eqao.com/Research/pdf/E/ Exploring UnderlyingTraits_web.pdf

Caplow, T. (1964). Principles of Organization. New York : Harcourt, Brace and World.

Gibson and others. (1973).Organizational : Behavior,Structure, Process ; Behavior, Dallas. Taxas : Business Publication, Inc.

Hoyle, English and Steffy.(2005). Skills for Successful 21st Century School Leaders. [n.p.].

Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (1991).Educational Administration : Theory Research and Practice: 4th ed. New York : Harper Collins.

Hoy, W. K., & Ferguson, J. (1985). “A theoretical framework and exploration Hoy, of organizational effectiveness in schools”,Educational Administration Quarterly.

Krejcie, R.V. and. D.W.Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30: 608-609

Mott, R. M. (1972). Organizational Effectiveness. Santa Monica, California: Good Year Publishing Co., Inc.

Parsons, T. (1960). Structure and process in modern societies. New York : Free Press.

Weigel. (2012). Management Skills for the 21st Century: Avis Gaze /Preparing School Leaders: 21st Century Skills และ NationalAssociation of Secondary School Principals (NASSP). [n.p.].