ภาวะหมดไฟของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 วิทยาเขตรัชโยธิน

Main Article Content

จารุวรรณ ทองขุนดำ
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
มีชัย ออสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง ภาวะหมดไฟของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 สหวิทยาเขตรัชโยธิน มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของครูที่ไม่มีวิทยฐานะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 วิทยา-เขตรัชโยธิน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับภาวะหมดไฟของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านภาระงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ไม่มีวิทยฐานะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สหวิทยาเขตรัชโยธิน จำนวน 160 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance : ANOVA) และการทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 สหวิทยาเขตรัชโยธิน ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ อาการระดับต่ำ 61 คน (ร้อยละ 38.1) มีอาการระดับปานกลาง 37 คน (ร้อยละ 23.1) มีอาการระดับสูง 62 คน (ร้อยละ38.8) ด้านความรู้สึกลดความเป็นบุคคล มีอาการระดับต่ำ จำนวน 108 คน (ร้อยละ 67.5) มีอาการระดับปานกลางจำนวน 32 คน (ร้อยละ 20.0) มีอาการระดับสูงจำนวน 20 คน (ร้อยละ 12.5) ด้านความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จส่วนบุคคล มีอาการระดับต่ำจำนวน 42 คน (ร้อยละ 26.3) มีอาการระดับปานกลางจำนวน 38 คน (ร้อยละ23.8) และมีอาการระดับสูงจำนวน 80 คน (ร้อยละ 50.0) 2) การเปรียบเทียบระดับภาวะหมดไฟในการทำงาน ตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เงินเดือน ภาระครอบครัว และปัจจัยด้านภาระงาน ได้แก่ ภาระงานสอน ภาระงานนอกเหนืองานสอน พบว่า เพศ อายุ เงินเดือน ภาระครอบครัว ภาระงานสอนของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 สหวิทยาเขตรัชโยธินไม่แตกต่างกัน ส่วนสถานภาพสมรสและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ มีระดับภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนภาระงานนอกเหนืองานสอนของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 สหวิทยาเขตรัชโยธิน ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการลดความเป็นบุคคล มีระดับภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

มีชัย ออสุวรรณ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงาน.

สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคมคม, 2564, จาก https://mhc7.go.th/wp-content/uploads/2017/09/แบบประเมินภาวะหมดไฟ-ฉบับเผยแพร่.pdf

ฉัตรชกรณ์ ระบิล. (2564). ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), กรุงเทพมหานคร.

ชัยยุทธ กลีบบัว และพรรณรพี สุทธิวรรณ. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยล้าในการทำงาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม), กรุงเทพมหานคร.

จิรัชญา ชัยชุมขุน. (2564). ภาระงานล้น แต่เงินน้อย สรุปปัญหา #ทำไมครูไทยอยากลาออก เมื่อครูถูกผลักให้เป็นผู้เสียสละ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564, จาก https://thematter.co/social/education/why-thai-teachers-wanna- quit/160415#:~:text=

ปทุมรัตน์ สกลพิมลรัตน์. (2556). ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท วีรับเบอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ญพิชชา เกตุชัยโกศล. (2564). ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ของพนักงาน บริษัทเอกชน ในกลุ่ม Generation Y. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ละม้าย เกิดโภคทรัพย์. (2548). การรับรู้ความสามารถของตนเองกับความเหนื่อยหน่ายใน งานของบุคลากรทางการพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณพร พรายสวาท. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการฟังเพลงในขณะทำงานกับความสุข ในการทำงาน : ศึกษา เฉพาะกรณี พนักงานขายของบริษัท อิริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร.

เหมือนขวัญ จรงค์หนู. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของบุคลากรในสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร.

Maslach, C., Schaufeli, W. B., & Leiter and. M. P. (2001). Job burnout. Annual Review of Psychology, 52: 397-422.