ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ชุธารินี ศรีปัญญา
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
มีชัย ออสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สร้างโดยผู้วิจัย มีค่าความเชื่อมั่น .922 โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 322 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายและมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ 2) การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ การรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.791, p < .01)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

มีชัย ออสุวรรณ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

กรรณิการ์ แก้วประสิทธิ์. (2564). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อความร่วมมือของ

ผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนบนฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, น. 1011-1025. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 “Global Goals, Local Action: Looking Bank and Moving Forward 2021”.

ชัยศักดิ์ ศุกระกาญจน์. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้น

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม, 2564, จากhttps://express.adobe.com/page/

YlGxuPO3qkdtE/

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเพชรบุรี.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ภมรวรรณ แป้นทอง. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ

เรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบ COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน, 2564, จาก https://www.eef.or.th/

article1-02-01-211/

ศิตา ประสานสุข. (2562). การบริหารจัดการศึกษา ผ่านโปรแกรม Google Meet เนื่อง

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID–19), น.1132-1141. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 “Global Goals, Local Action: Looking Bank and Moving Forward 2021”. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร.

ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2561). เทคโนโลยีส่งเสริมภาวะผู้นำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม, 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/119074

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน, 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/Digital_Learning_Sources

สุวิมิล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

เสาวณีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรดิจิทัล: กรณีศึกษา องค์กรไอที

และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญยามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสาวลักษณ์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อ

ไวรัสโครโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม, 2564, จาก http://phuket.dop.go.th/download/knowledge/

th1611129513-133_0.pdf

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน, 2564, จากhttps://www.true

plookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3