ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เพื่อตอบสนองต่อการศึกษาที่พลิกผัน

Main Article Content

สุชาวดี จักษุศรี
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เพื่อตอบสนองต่อการศึกษาที่พลิกผัน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.914 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น( PNI Modified ) ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ในยุคการศึกษาที่พลิกผัน โดยภาพรวมพบว่าความสามารถที่มีอยู่จริงอยู่ในระดับมาก (= 3.67, S.D. = 1.117) ส่วนความสามารถที่ควรจะมีอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.90, S.D.= 0.318) ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI Modified ) มีค่าเท่ากับ 0.338 หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคการศึกษาที่พลิกผันของผู้บริหารในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านความสามารถในการบริหารจัดการอย่างยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงอย่างร่วมมือร่วมพลังเป็นอันดับแรก (PNI Modified = 0.391) รองลงมาคือ สมรรถนะด้านความสามารถในการบริหารงานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  (PNI Modified = 0.353) จากการวิเคราะห์เมทริกซ์ทั้งสองสมรรถนะเป็นสมรรถนะที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

ศิรินนาถ ทับทิมใส. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค “การศึกษาที่พลิผัน”.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2564). ‘โรคใหม่’ สร้าง ‘โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่’: อนาคตการศึกษา

ไทยยุคหลัง COVID-19 (Online).https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/, 14 เมษายน 2565.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. 1,000 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2564). โครงการพัฒนาระบบข้อมูล

สารสนเทศ https://sites.google.com/a/ssps4.go.th/ssps4bigdata/student/0student,

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ.

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). คู่มือหลักสูตรการ

พัฒนาข้าราชการครูเพื่อให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

อริญญา เถลิงศรี. (2561). Disruption: ทำลายล้างหรือสร้างโอกาส (Online). https://thaipublica.org/2018/06/seac-disruption, 7 ตุลาคม 2564.

อธิษฐาน์ คงทรัพย์. (2564). ‘โรคใหม่’สร้าง‘โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่’: อนาคตการศึกษาไทย

ยุคหลัง COVID- 19 (Online). https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/, 14 เมษายน 2565.