สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1

Main Article Content

ยุพา มั่นเขตกิจ
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผันตามการรับรู้ของครู 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผันตามการรับรู้ของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผันตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ในภาพรวมพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผันตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ.05 3) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผันตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานในภาพรวมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ , รองศาสตราจารย์ ดร., หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง, ดร., หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

กรกมล กองแก้ว. (2554). กระบวนการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนในสังกัดกรม สามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กมลวรรณ จันทร. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผันฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล.

สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม, 2564, จาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index

กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์. (2562). การศึกษาสมรรถนะหลักสูตรของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ คุณภาพ การจัดการศึกษาในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร

ภิชาพัชญ์ โหนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศ ไทย 4.0. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร วิทยาลัยบัณฑิตเอเชียปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน), กรุงเทพมหานคร.

ศิรินนาถ ทับทิมใส, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และ วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน. น.28-39. การประชุม วิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 8. วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.

อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอ คลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Krejcie, R.V. and. D.W.Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30: 608-609.