การพัฒนาทักษะปฏิบัติหน่วยการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของซิมพ์ชัน

Main Article Content

ศิรินธร โคตา
ลักขณา สุกใส

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะปฏิบัติหน่วยการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรม Scratch เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจ พัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรม Scratch โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของซิมพ์ชัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของซิมพ์ชัน เรื่องการเขียนโปรกรม Scratch กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตาเนินราษฎร์วิทยาคาร อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ 3 จำนวน 16 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของซิมพ์ซัน หน่วยการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม Scratch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 4 จำนวน 16 แผน 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน ในการเขียนโปรแกรม Scratch สถิติที่ใช้ในการวิจัย.ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรม Scratch โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของซิมพ์ชัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.50/85.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของซิมพ์ชัน เรื่องการเขียนโปรกรม Scratch มีประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 18.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.09 อยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ลักขณา สุกใส , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุมสาระการเรียนรูวิทยา

ศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2545).วิทยาการดานการคิด. กรุงเทพฯ :เดอะมาสเตอรกรุป

แมเนจเมนท.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ : สุวิริยา

สาส์น

ปัญณธร เพ็งยอด และกอบสุข คงมนัส. (2563). เกมคอมพิวเตอรที่สงเสริมความสามารถการ

สรางสื่อมัลติมีเดียดวยโปรแกรม Scratch.วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล สงคราม, 14(1) 15-30.

ลักขณา สุกใส. (2562). การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานวิชาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สารสนเทศเพื่อการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9 (1), 59-66.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2545). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือรายวิชาพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการ

สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.