การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านบ่อหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

Main Article Content

เวชพงศ์ หนูด้วง
สุจินต์ หนูแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยกระบวนการ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  โรงเรียนบ้านบ่อหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ด้วยรูปแบบการประเมิน CIPP ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 159 คน ได้แก่ นักเรียนจำนวน 69 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 69 คน  คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 2 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับและแบบบันทึกจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท พบว่า ความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ คณะกรรมการ บริหารโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด   2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นของครูโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  และความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ พบว่า ความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต คือ (4.1) ด้านความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.2)  ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ความคิดเห็นของครูโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.3) ด้านความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ความคิดเห็นของครู  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.4) ด้านความสำเร็จในการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนระดับเครือข่ายสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2563 นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันงานทักษะวิชาการระดับเครือข่ายสถานศึกษา ครั้งที่ 70 จำนวน 10 รายการเท่ากับปีการศึกษา 2562 แต่ได้รับเหรียญรางวัลทุกรายการที่เข้าร่วมการแข่งขัน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยเฉพาะรางวัลเหรียญทองที่ได้รับเพิ่มขึ้นอีก 3 เหรียญ ในขณะที่ในปีการศึกษา 2562 ได้รับเหรียญรางวัล 8 รายการจากทั้งหมด 10 รายการที่เข้าแข่งขัน คิดเป็นร้อยละ 80 ในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมระดับเขตพื้นที่ครั้งที่ 70 จำนวน 4 รายการ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 รายการ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุจินต์ หนูแก้ว, อาจารย์ ดร., สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Nakhon Si Thammarat Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546) สืบค้น 30 มีนาคม 2563, จาก htp//school.obec go.th/

powerpoint/planobecppt

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

จรูญ วัฒนา. (2552). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ..สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563,

จาก: https//www.gotoknow.org/posts/320364.

ชนิดา มิตรานันท์,ชุลีกร โชติดี,ธีรพงศ์ จุลสายพันธ์,พรชัย มั่นหมาย และ มยุรี เสือคำรม.

(2556). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของภาควิชา

การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์The Development

Guidelines for the Academic Excellence of theDepartment of

Education, Faculty of Education,Kasetsart University. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณรงค์ ขุ้มทอง. (2560). PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย สืบค้น

https://www.matichon.co.th/columnists/news_484184

รุ่ง แก้วแดง. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อพร้อมรับการ

ประเมินภายนอก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี

วิยะดา บุญชัย (2560) รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้

กระบวนการ PLC โรงเรียนพนมเบญจา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

http://www.matthayom13.go.th/site/files/new/2561/9/1047-2.pdf

อำรุง จันทวานิชและคณะ. (2553). โรงเรียนสมบูรณ์แบบ: สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563

www.moe.go.th/moe/th/cms_group/detail.php?NewsID=140&Key=aca_article