การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

Main Article Content

จีรชัย วงศ์ชารี
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการรักษาศีล 5 ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และ3) เพื่อเปรียบเทียบการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร จำนวน 6 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมดจำนวน 3,539 คน ใช้การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอ  คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับ ปานกลางเช่นกัน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้านการส่งเสริมงานบุญปลอดอบายมุข ด้านการส่งเสริมสวดมนต์ข้ามปี ด้านการส่งเสริมงานศพปลอดอบายมุข ตามลำดับ การเปรียบเทียบการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยรวมประชาชนที่มี อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีแนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอคำเขื่อนแก้ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ , อาจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).(2552).พุทธธรรมฉบับขยายความ, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2533). มนุษยธรรม,

กรุงเทพฯ : ชวนการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พระมหาวรานนท์ ฐิตานนฺโท.(2543).“ความสัมพันธ์ระหว่างศีล 5 และสันติภาพในสังคม :

การศึกษา เชิงวิเคราะห์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมคิด เหลาฉลาด.(2541). “ความเชื่อเรื่องบุญและบาปกับ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของ

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร”, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภูริณัฏฐ์ แสงทอง.(2547). “เจตคติและการปฏิบัติของเยาวชนต่อหลักเบญจศีล เบญจธรรม”,

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญน้อย มุ่งงาม.(2543).“การศึกษาเชิงวิเคราะห์ค่านิยมแบบพุทธและการดำเนินชีวิตของ

ชาวพุทธในปัจจุบัน”, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล.(2548). “การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน :

กรณีศึกษาเขตสวนหลวงกรุงเทพมหานคร”, ปัญหาพิเศษ, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิดาภา จิตต์วิญญาณ.(2549). “การศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานพระสอนศีลธรรมใน

โรงเรียน พฤติกรรมและเจตคติต่อคุณธรรมของนักเรียน โรงเรียนในโครงการพระ

สอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดหนองคาย”, บทความวิชาการการวิจัย, สำนักงาน

วัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย.

https://th.wikipedia.org/wiki/ [ออนไลน์]. (สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2563)