ความขัดแย้งทางการเมืองกับการพัฒนาทางการเมือง

Main Article Content

พรเทพ โฆษิตวราวุฒิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความขัดแย้งทางการเมือง และการพัฒนาการทางการเมือง และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองกับการพัฒนาทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่มีอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 7,990,072 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของYamane (1967) จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า (Rating scale) มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับ .81-.99 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้งทางการเมือง และการพัฒนาทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.99) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาทางการเมือง ( = 3.99) รองลงมาคือ ความขัดแย้งทางการเมือง ( = 3.98) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า (1.1) ความขัดแย้งทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความขัดแย้งด้านข้อมูลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.07) รองลงมาคือ ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และความขัดแย้งด้านโครงสร้าง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.00) ส่วนความขัดแย้งด้านค่านิยมเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่มีค่าน้อยที่สุด ( = 3.86) (1.2) การพัฒนาทางการเมืองเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.99) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านที่ทำการศึกษาพบว่า การพัฒนาทางการเมืองด้านความสามารถของระบบการเมืองมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นมีค่ามากที่สุด ( = 4.04) รองลงมาคือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุผล ( = 4.00) และด้านความเท่าเทียมกัน และความเท่าเทียมกันทางการเมืองที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 3.93) 2) ความขัดแย้งทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยความขัดแย้งทางการเมืองและพัฒนาทางการเมืองมีความสัมพันธ์ที่ค่า r .573

Article Details

บท
Research Articles

References

ขัตติยา หรั่งประเสริฐ และอรนันท์ กวันทปุระ. (2554). การจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พ.ศ.2552-2553). วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 32(2), 173.

เจริญ เพ็งมูล. (2558, เม.ย.-มิ.ย.) วิทยุชุมชนกับการพัฒนาทางการเมือง, วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(2)

ธนพงศ์ จิตต์สง่า. (2558) ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างปรีดี พนมยงค์ ป๋วย อึ้งภากรณ์กับสัญญา ธรรมศักดิ์ และกลุ่มอนุรักษ์นิยมในสมัยรัฐบาลถนอม-ประภาส, พ.ศ. 2513-2516, วารสารประวัติศาสตร์

ธานี สุขเกษม. (2558). ความขัดแย้งเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ และผลกระทบทางการเมืองหลังการปฏิวัติ 2475, วารสารวิชาการ อยุธยา

ธีราพร ทวีธรรมเจริญ. (2553) การเรียนรู้วิถีชุมชนจากแนวคิดในทฤษฎีโครงสร้างสังคม และทฤษฎีชุมชน, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(1), 104-116.

ปัญญพงศ์ วงศ์ณาศรี. (2558). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้ง: บริบทในสังคมไทย, วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พรชัย ตระกูลวรานนท์. (2554). รากเหง้าปัญหาเชิงโครงสร้างและความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย, วารสารธรรมศาสตร์, 30

ภูสิทธิ์ ขันติกุล. (2554). ทัศนะทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ

ประชาธิปไตยของประชาชน 44 ชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, วารสารวิจัยและพัฒนา, 3, 68-77

ลิขิต ธีรเวคิน. (2553, ม.ค.-เม.ย.) ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา, วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 8(1)

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) (2552). แนวทางการแก้ปัญหาความยากจน: เสรีนิยม ประชานิยม หรือรัฐสวัสดิการ

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2559) สหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนากับมุมมองในการพัฒนาทางการเมือง, วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 3(1), 35

สืบวงษ์ สุขะมงคล. (2557). การบริหารจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2555, วารสารเกษมบัณฑิต, 5(1), 39

อภิญญา ดิสสะมาน. (2557) การปฏิรูปประเทศไทยกับทางออกวิกฤตการเมืองไทย, วารสารสถาบันพระปกเกล้า

อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์. (2553). ทฤษฎีเกมในรูปแบบความขัดแย้งในสังคมไทย, วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 8(1)

Brubaker, R. (2015). Religious dimensions of political conflict and violence, Sociological theory, 33(1), 1-19

Geoffrey Pridhan. (2005). “Introduction”, in Geoffrey Pridham ed., Transition to Democracy: Comparatives from Southern Europe, Latin America and Eastern Europe. Aldershot. U.K.: Dartmouth.

Karimi, M., & Singh, S.S.D. (2014). Political development concept by looking briefly st Iran's Mohammad Reza Dahlavi Rule, Journal of Public Administration and Governance, 4(4), 67-78

Mazzuca. S., & Robinson, J.A. (2008). Political Conflict and power sharing in the origins of modern Columbia, Hispanic America Historical Review, 89(2), 285-321

UNICEF. (2014). Thailand case study in education, conflict and social cohesion, Thailand

Werthiem, W.F. (2001). The Urgency Factor and Demorcracy: a theorical contribution to Unrisd’ debate on partipation. Geneva: UNRISD.