ความสัมพันธ์ของการใช้เฟซบุ๊ก ข่าวสารทางการเมือง และการเข้าร่วมทางการเมือง ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ชัยยศ จินารัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้เฟสบุ๊ก ข่าวสารทางการเมืองและการเข้าร่วมทางการเมือง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้แบบสอบถามจำนวน 28 ข้อ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสุ่มตัวอย่าง (Simple Random) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความคลาดเคลื่อน t-test, F-test, MANOVA และ Correlation ผลวิจัยปรากฏว่าการติดตาข่าวสารทางการเมืองโดยใช้ช่องทางสื่อสารแบบดั้งเดิมเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ใช้บ้างบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 35.10รองลงมาคือใช้นานๆครั้ง คิดเป็นร้อยละ 31.80 ใช้ทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 17.40และไม่เคยใช้เลย คิดเป็นร้อยละ 15.70 ตามลำดับจากมากไปน้อย นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการข่าวสารทั้งภาพรวมและตัวแปรองค์ประกอบ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 2.53 (SD =.61) อีกทั้งการใช้เฟสบุ๊กเพื่อการข่าวสารที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจำแนกตามเพศ*อายุเพศ*ระดับการศึกษาอายุ*ระดับการศึกษาส่วนเพศ*ระดับการศึกษา*อายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน

จำกัดภาพพิมพ์.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2552). พฤติกรรมการเปิดรับการใช้ประโยชน์และความต้องการข่าวสาร

พุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่ (Modern Research Methodology).

อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป

Almond, G.A. & Verba, S. (1963). The civic culture: Political attitudes and

democracy in five nations. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Dan, Z. (2010). The facebook marketing book, Canada: O’Reilly Media.

Hall, S. (1997). Representation Cultural Representations and Signifying

Practices, London: SAGE Publications

Hovland, C., Janis, I., & Kelley, H. (1953). Communication and persuasion. New

Haven, GT: Yale University. 11

McNair, B. (1995). An Introduction to Political Communication. (New York:

Routledge,1999), p.94. 32Ibid., p.93.

Moloney, K., & Colmer, R. (2001). Does political PR enhance or trivialise

democracy? The UK general election 2001 as a contest between presentation and substance, Journal of Marketing Management, 17(9-10). 957-968.

Print, M. Saha, L. & Edwards, K. (2005). Youth electoral study-report 1:

Enrolment and voting. Sydney: Australian electoral commission.

Verba, S., Schlozman, K.L. & Brady, H.E. (1995). Voice and equality: Civic

voluntarism in American politics. Cambridge, MA: Harward University

Press.

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York:

Harper and Row