แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะครูที่ดีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต

Main Article Content

ภานุมาศ จินารัตน์
พนมพร ช่วงชิง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะครูที่ดีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามจำนวน 23 ข้อไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและอาจารย์ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญจำนวน 315 คน แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาประกอบด้วย คุณลักษณะครูที่ดีด้าน จิตวิญญาณของความเป็นครูและความเป็นมนุษย์โดยมีอิทธิพลรวมกันต่อการดำรงชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีสัมประสิทธิ์พยากรณ์ที่ค่า R2 .15

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

พนมพร ช่วงชิง, อาจารย์ ดร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์และประสพชัย พสุนนท์. (2561) การสุ่มตัวอย่างและการผสานข้อมูลตามแบบแผนงานวิจัยแบบผสมวิธี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 147-158.

ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. (2559). การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงพร ดุษฎี บรรจง เจริญสุขและวันชัย ธรรมสัจการ. (2559). คุณลักษณะของครูสอนที่ดีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(3), 43-57.

ทัศนีย์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2555). คุณลักษณะพึ่งประสงค์ของครูตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, สุทธิปริทัศน์, 26(78), 143-166.

ธันยพร พรมการ. (2560). คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนที่มีนักเรียนข้ามวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย, วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(2), 95-109.

ปภาวี ตั้งดวงดี. (2559). คุณลักษณะครูต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนประถมส่วนขยายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัญญา นันทภิกขุ. (2532). ครูคือปูชนียบุคคลที่ทุกคนหวังพึ่ง, ปาฐกถาธรรม จังหวัดเชียงใหม่ 12 พฤษภาคม, กองทุนปัญญานันทธรรม.

พุทธทาสภิกขุ. (2522). ครูเป็นพระเจ้าผู้สร้างโลก, สวนโมกขพลาราม.

พินโย พรมเมือง ฐิติยา เรือนนะการ และวิชิต ทองประเสริฐ. (2562). คุณลักษณะของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 11-20.

ยุทธ ไกยวรรณ. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS, พิมพ์ครั้งที่ 1;กรุงเทพมหานคร, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรืองวิทย์ นนทภา. (2559). คุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีเทอร์น, 10 (2), 142-153.

วันเพ็ญ นันทะศรี. (2559). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 96-105.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2539). เพื่อชุมชนแห่งการศึกษาและบรรยากาศวิชาการ, วัดญาณเวศกวัน.

สุนนท์ สีพาย. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 246-263.

Chaimay, B. (2013). Sample size determination in descriptive study in public health, Thaksin, J., 16(2), 9-18.