การจัดการกลยุทธ์เลือกตั้ง การมีส่วนร่วมภาคพลเมืองและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วิทยา จิตรมาศ
พรสวรรค์ สุคะตาน
ชัยยยศ จินารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของการบริหารกลยุทธ์เลือกตั้ง การมีส่วนร่วมภาคพลเมือง และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการบริหารกลยุทธ์เลือกตั้ง การมีส่วนร่วมภาคพลเมือง และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารกลยุทธ์เลือกตั้ง (ที่มีอิทธิพลทำให้เกิดการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง และการพยากรณ์ต่อองค์ประกอบของประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงาน รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มงานการจัดการเลือกตั้งและมีส่วนร่วม กลุ่มงานสืบสวน สอบสวนและพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง คณะอนุกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง จำนวน 394 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามจำนวน 80 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความคลาดเคลื่อน วิเคราะห์ความแปรปรวน และถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1)การบริหารกลยุทธ์เลือกตั้ง การมีส่วนร่วมภาคพลเมือง และประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน (  = 3.65) รองลงมาคือ คือ การบริหารกลยุทธ์การเลือกตั้ง (  = 3.56) และน้อยที่สุดคือ การมีส่วนร่วมภาคพลเมือง (  = 3.20) 2) การบริหารกลยุทธ์เลือกตั้ง การมีส่วนร่วมภาคพลเมืองและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับปานกลาง ถึงมาก โดยมีค่า r ระหว่าง.605-.783 3) การบริหารกลยุทธ์เลือกตั้งที่มีอิทธิพลทำให้เกิดการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง  และการพยากรณ์ต่อองค์ประกอบของประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยตัวแปรการนำแผนไปลงมือปฏิบัติ พฤติกรรมส่วนบุคคล และการควบคุมและประเมินผล ทั้งนี้มีผลทดสอบ F เท่ากับ 4.640 (Sig. 000) ส่วนคะแนนมาตรฐาน หรือสัมประสิทธิ์พยากรณ์ของแต่ละตัวแปรนั้นประกอบด้วย.311, .334 และ .218 นอกจากนี้แล้ว ตัวแปรทั้งหมดมีอำนาจพยากรณ์อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่า R2 = .646 หากแต่มีระดับความคลาดเคลื่อน .385 หรือมีความมีน่าเชื่อถือของการพยากรณ์เท่ากับ .604 หรือมีอิทธิพลอยู่ในระดับปานกลาง


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พรสวรรค์ สุคะตาน , มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

ชัยยยศ จินารัตน์, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

References

กฤษณ์ ไชยมาลา. (2557). การวิเคราะห์รูปแบบและปัญหาในการบริหารงานการสืบสวนการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบน: ศึกษากรณีผู้บริหารท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบน. (การบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน), คณะการบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน.

พงษ์นิรันดร์ อุทัยกาญจนกุล. (2559). อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 กรณีศึกษา ความสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 7(2), 64-77.

พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์. (2560). ธรรมาภิบาลในการจัดการเลือกตั้ง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระดับจังหวัด กรณีศึกษา จังหวัดปัตตานี, วารสารการเมืองการปกครอง, 7 (3), 33-52.

มติชน (2563). กำหนดให้ชัด, วันที่ 9 ตุลาคม 2563

เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ (2563). มติชน แลกเปลี่ยนการเมืองปรับ ใครตามทันไหมครับ, วันที่ 2 ตุลาคม 2563.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2548). ทิศทางการปฏิรูปการเมืองในทศวรรษหน้า. เอกสารการสัมมนาวิชาการในวาระครบรอบ 50 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วันที่ 9 กรกฎาคม 2548. ณ อาคารอเนกประสงค์, สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์.

Finlay, A.K., Flanagan, C. & Wray-Lake, L. (2011). Civic engagement patterns and transitions over 8 years: The AmeriCorps national study. Developmental Psychology, 47(6), 1728-1743.

Kaur, A. (2009). Electoral reforms in India: Problems and needs (1982-2009). Chandigarh: Unistar Publication.

Norris, P. (2013). The new research agenda studying electoral integrity. Electoral Studies, 32(4), 563-575