สิทธิของประชาชนกับการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมภิบาลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิท-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

รพีพร ธงทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสิทธิของประชาชนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี และ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิของประชาชนกับการบริหารภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สิทธิของประชาชนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านสิทธิแรงงาน รองลงมาคือ สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมและน้อยที่สุด คือ สิทธิในด้านการศึกษา 2) การบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นิติธรรม รองลงมาคือ ความโปร่งใสและน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วม 3) คุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านจิตใจ รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมและน้อยที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 4) ความสัมพันธ์ของสิทธิของประชาชนและการบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลกับคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ในจังหวัดอุบลราชธานี มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลางถึงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล. (2564). การบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565จาก https://www.icj.org/wp-ontent/ uploads/2021/07/FINAL_APP270601_TFH_Draft_COVID_19_ED_LEGAL_BRIEFING_TH_proofread.pdf

ชุติกาญจน์ สายอุตส่าห์. (2560). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐวัฒน์ ขันโท. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประภาพร ดีสุขแสง. (2564). การปรับตัวของร้านอาหารริมบาทวิถี (STREET FOOD) ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564. วันที่ 1 เมษายน 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://www.bec.nu.ac.th/NPSC/files/ 7%20114-131-A016.pdf

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพลินตา ตันรังสรรค์, (2559). หลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลกับสังคมประชาธิปไตย. จุลนิติ.

ภัทราวดี มากมี. (2559). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2557). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนะ สุขขวัญ. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารที่ปรับตัวในช่วงวิกฤต covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีสกุล เจริญศรี และคณะ. (2559). ธรรมาภิบาลวัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศุภริน เจริญพานิช. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจ SMEs (Quick Study) สาขาธุรกิจร้านอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 จาก www.sme.go.th/upload/mod_ download/download -20210909160132.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการเลือกตั้ง.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัยเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม = Statistics in research appropriate selection. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

CCPR. (2018, 30 October). Human Rights Committee; General comment No. 36 (2018) on article 6 of the International Covenant on Civil and Political Rights, on the right to life. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565

จาก https:// tbinternet.ohchr.org/Treaties/CCPR/Shared%20Documents/1_Global/ CCPR_C_ GC_36_8785_E.pdf

iLaw. (2564). ปัญหารัฐธรรมนูญ 2560: สิทธิเสรีภาพที่อยู่ภายใต้ความมั่นคงของรัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://ilaw.or.th/node/5735

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row.