การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความภักดีของครู โรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สาวิภา แซ่อึ้ง

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาระดับความภักดีของครูในโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อความภักดีของครูในโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือครูในโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดอุบลราชธานี ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,982 คน จาก 85 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 320 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของครู และแบบสอบถามความภักดีของครูในโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ระดับความภักดีของครูในโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความภักดีของครูในโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านการมีอิสระในการทำงานที่รับผิดชอบ การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการยึดมั่นที่จะปฏิบัติ สามารถพยากรณ์ความภักดีของครูในโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 75.70 (R2 = .757)

Article Details

บท
Research Articles

References

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์ .

จิตตานันท์ สุขสวัสดิ์. (2557). การวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ของปัจจัยความภักดีต่อองค์การของบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิราภรณ์ เพชรทัต. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

นันพิดา สีลาทอง. (2559). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรีณาพรรณ ทัพมาลี และกล้า ทองขาว (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความ

จงรักภักดีต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(34), 245-253.

ไพศาล อานามวัฒน์. (2543). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนคาทอลิกสังฆมณฑลจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน.(2563) ข้อมูลสถิติโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี.สืบค้น 13 สิงหาคม 2563, จาก http://www.ubnpeo.moe.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทพริกหวาน จำกัด.

หนึ่งฤทัย น้อยทา. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความจงรักภักดีต่อองค์กร: กรณีศึกษาพนักงานมหาวิทยาลัยสายบริการ มหาวิทยาลัยนเรศวร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำภา สมันพืช (2561). การมีส่วนร่วมในการบริหารกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์การของครูในสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607–610.

Porter Lyman W., Edward E. Lawler, and Richard Hackman. (1975). Behavior in organizations. 4thed. New York : Mcgraw-Hill Book Co.