การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยยึดกระบวนการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ รักพร้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยยึดกระบวนการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยยึดกระบวนการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 17 คน และรองผู้อำนวยการ และคณะครูโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ จำนวน 130 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า  1)องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา และกระบวนการบริหารงานวิชาการ 2)          รูปแบบการบริหารงานวิชาการประกอบด้านกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนมี 5 องค์ประกอบย่อย องค์ประกอบด้านการพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบย่อย และองค์ประกอบด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการมี 4 องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ทุกข้อ มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุดและมีค่าความสอดคล้องในระดับมากทุกประเด็น 3) ผลทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยยึดกระบวนการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ พบว่า (1)         ครูสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานในสถานศึกษา (2) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการ พบว่า (1) การทำวิจัยในชั้นเรียน บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพอใจมาก  (3) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพอใจมากที่ได้มีโอกาสได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน และ(3) กระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจและตระหนักในบทบาทหน้าที่ 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ พบว่า มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). Digital Thailand แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ชำนาญ บุญวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ณัชชา มหปุญญานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการประเมินโครงการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เทอดเกียรติ ขันธ์พิมูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการทำงานเป็นเป็นทีมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่หารศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธัญญารัตน์ ทองทิพย์. (2563). การบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ของโรงเรียนในเขตห้วยขวาง สังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

บัณฑิต เดชขันธ์. (2559). รูปแบบการบริหารการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านเซือม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2554). สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dyer, W. G. (1977).Tram building: Issues and alternatives. Reading, Mass: Addison-Wesley.