ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จุฑามาศ เผื่อแผ่
สุชาดา นันทะไชย
สุดารัตน์ สารสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร                        2) ระดับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้าน    ซอฟท์สกิลกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลคือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับสร้างโดยผู้วิจัย มีค่าความเชื่อมั่น .982    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                    และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.956,               p < .01)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุชาดา นันทะไชย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

สุดารัตน์ สารสว่าง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ แนวคิด ทฤษฎี และ กรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). Soft Skills to Master. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรนันท์ กลั่นแก้ว. (2552).วิธีปรับตัวขององค์กรยอมรับการเปลี่ยนแปลง. Quality 15 (138):40-44.

สนุก สิงมาตย์, พิกุล มีมานะ และ ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์. (2560). คุณลักษณะภาวะผู้นำของ ผู้บริหารองค์กรในศตวรรษที่ 21, น.487-493. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สร้อยตระกลู (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560).แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). ทักษะเด็ด 2020 วัคซีนทักษะ ปะทะ DIGITALDISRUPTION. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม, 2564, จาก http://www.onec.go.th/

สุภศักดิ์ กฤษณามระ และ กานต์ชนก บุญสุภาพร. (2563). ผู้นำองค์กรควรรับมือกับวิกฤตโควิด-19 อย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม, 2564, จาก http://www2.deloitte.com

Krejcie, R.V. and. D.W.Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30: 608-609.

Okwe, E. I. (2020). The Role of Emotional Intelligence in Effective Decision Making:An Idea for Organisational Leadership. London: University Greenwich.