แนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

ศรีประภา ประเมินชัย
วสันต์ชัย กากแก้ว
ทรงเดช สอนใจ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความขัดแย้งของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพความขัดแย้งภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์ 3) เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าฝ่ายบุคคล จำนวน 288 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentile) ค่าเฉลี่ย (Mean) สถิติทดสอบที (t – test for independent) และการใช้สถิติทดสอบเอฟ (F – test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความขัดแย้งของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านบุคคล ด้านสภาพองค์การ และด้านปฏิสัมพันธ์ 2) การเปรียบเทียบสภาพความขัดแย้งของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุและประสบการณ์ โดยรวมมีความแตกต่างกัน 3) แนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ การมอบหมายงานให้เหมาะสมตรงกับความสารถของบุคคล กำหนดกฎระเบียบให้ชัดเจน กำหนดวัฒนธรรมองค์กร เพื่อสร้างความตระหนักในการทำงาน  กำหนดปฏิทินการนิเทศที่ชัดเจนเป็นไปความต้องการของครู บริหารสถานศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสยุติธรรม ไม่เลือกข้างวางตัวเป็นกลาง สร้างความท้าทายและสละให้เมื่อบรรลุผลที่วางไว้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

วสันต์ชัย กากแก้ว , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

ทรงเดช สอนใจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

References

จิตฑามาศ เชื้อโฮม. (2553). วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ฉลาด กันกา. (2550). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดแพร่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ณัฐยะดา สาพันธ์. (2560). การบริหารจัดการความขัดแย้งภายในศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดสุรินทร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาราชภัฏสุรินทร์.

อุดมศักดิ์ มั่นทน. (2559). สาเหตุและวิธีการจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(2), 119-133.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Pneuman, R.W., and Bruehl, M.E. (1982). Managing Conflict. Englewood Chiffs. New Jersey : Prentice – Hall.