ปัจจัยทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหารที่มีอิทธิพล ต่อทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครูโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เบญจพร จ่าภา
สุชาดา นันทะไชย
มีชัย ออสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาระดับทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาปัจจัยของทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหารโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี  จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 327 คน ได้มาด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหารในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู ในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านการทำงานแบบทีมประสานพลัง ปัจจัยด้านการศึกษาเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยด้านการพัฒนาคนและการสร้างนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05.  


            

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุชาดา นันทะไชย , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

มีชัย ออสุวรรณ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

References

กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหาร

สถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เกษสุดา บูรณศักดิ์สถิต. (2562). พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานสายสนับสนุน

วิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. Veridian E-Journal Silpakorn

University. มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 138-152

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). กรุงเทพฯ :

ซัคเซสมีเดีย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ประทีป คงเจริญ. (2564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกใน

ยุคเศรษฐกิจที่ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธนบุรี. มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(3), 165-177

ปัทมา ศรีมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับบุคคล :

กรณีศึกษาพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่).

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มนตรี อินตา. (2562). SOFT SKILLS: ทักษะที่จำเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่.

วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1).

พรพนา ช่วยรักษา. (2555). การจัดการนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อการ

เปลี่ยนแปลงทางการศึกษา. https://www.gotoknow.org/posts/505360

นรวัฒน์ ชุติวงศ์. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมใน

ประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์, 34(130).

รัตนา บรรณาธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมของ

ข้าราชการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5).

ราชบัณฑิตยสภา. 2554. พจนานุกรม (Online). สืบค้น 29 กันยายน 2560. จาก

http://www.royin.go.th/dictionary/,

วัลลภ วรรณโอสถ.(2562).บรรยากาศการสร้างนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์

นวัตกรรมของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขต กรุงเทพมหานคร : Veridian

E-Journal Silpakorn University.มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(4), 846-858.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี. (2564). ข้อมูลสารสนเทศ Online.

สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2564, จาก

https://www.spmnonthaburi.go.th/main/news/9334.html.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575

กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). ผลการประชุม

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 4/2564. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2564, จาก

https://otepc.go.th/th/content _page/item/3352-4-2564-2.html.

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. (2562). การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและ

แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา

สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564,

จาก https://personnel.obec.go.th/home/archives/51800

Donlaya C. (2020). การทำงานเป็นทีม. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2564, จาก

https://www.moneywecan.com/team-work/

Ferres (2017) Ferres, J. (2017). Communication efficiency in education:

Increasing emotions and storytelling. Media Education Research

Journal, 25(52), 51-60.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research

activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.