แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามวิทยฐานะครู 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 338 คน และทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) และจัดทำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จากการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ F-testผลการวิจัยพบว่า 1) สภาวะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เพิ่มตาราง รวมทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามวิทยฐานะครู โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน จำแนกตามวิทยฐานะเป็นรายคู่ พบว่า ครูชำนาญการพิเศษและครูเชี่ยวชาญสูงกว่าครูชำนาญการ และครูไม่มีวิทยฐานะ ในขณะที่ครูชำนาญการพิเศษและครูเชี่ยวชาญ กับครูไม่มีวิทยฐานะ แตกต่างต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 3) การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีแนวทางการพัฒนาด้านการมีความคิดวิจารณญาณ ประกอบไปด้วย 5 แนวทางย่อย ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วย 12 แนวทางย่อย ด้านการมีความคิดผลิตภาพ ประกอบไปด้วย 9 แนวทางย่อย ด้านการมีความคิดรับผิดชอบ ประกอบไปด้วย 8 แนวทาง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พุทธศักราช 2547.กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา4.0.
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 2009.
ประวิต เอราวรรณ์. (2564). การประเมินวิทยฐานะครูแนวใหม่. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย , 13(1), 3
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษาไทย 4.0 ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิต
ภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ยุพา จันทวงศ์. (2559). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของครู
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย
:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลออ วิลัย. (2557). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการ
บริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2) : 143 – 150
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิมล จันทร์แก้ว. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมชาย รุ่งเรือง และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้าง แรงผลักดันเชิง สร้างสรรค์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 10(1), 30.
สุรีรัตน์ พัฒนเธียร. (2552). ตัวแบบความสามารถทางภาวะผู้น าในสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2563). รายงานผลการ ดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. สุรินทร์ :
กลุ่มนโยบายและแผน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ยุทธศาสตร์การ พัฒนาคุณภาพการศึกษาวาระแห่งชาติ 2551-2555. กรุงเทพฯ : สำนักงานงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Heifetz, Grashow, and Linsky. (2009).“Leadership in a (Permanent) Crisis.”
Harvard Business Review.