การพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วิทวัฒน์ไชย ลุนวงษ์
แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

การงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมดและ 2)เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้นและการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด ใช้รูปแบบการวิจัยขั้นต้น แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านนาไก่นาคำน้อยวิทยา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา จำนวน 5 แผน 2)แบบประเมินความสามารถทางเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ และ 3)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  1) ค่าร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลคะแนนความสามารถทางเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.84 ของคะแนนเต็ม 25 คิดเป็นร้อยละ 87.38 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.61 ของนักเรียนทั้งหมด 2) นักเรียนมีผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ททางการเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.02 ของคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 89.61 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.61 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

แสงเดือน คงนาวัง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

North Eastern University

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 .

กรุงเทพฯ:บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

จิราภรณ์ ศรีเมืองคุณ (2558) การพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะผู้เรียนด้านเทคโนโลยี

สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ประภาส ฉัตรไชยพรกุล (2557) การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาณุพงศ์ โคนชัยภูมิ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง

การสังเคราะห์ด้วยแสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัฏฏิกา ตั้งพุทธิพงศ,ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ (2560) การรับรู้ของครูเกี่ยวกับกระบวนการ

ขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ห้องเรียน บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงค์ณภา แก้วไกรษร,นันทรัตน์ แก้วไกรษร (2561) การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของ

นักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะ

เต็มศึกษา (STEM Education) ภายใต้หัวข้อ หุ่นยนต์ทางเลือกแห่งอนาคต. http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620911_152515_2890.pdf

ศิริพร ศรีจันทะ.(2562) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสะเต็มศึกษาประกอบไปด้วย

ขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ,6 (1), 167-168

National Research Council, (2012). A Framework for K-12 Science Education:

Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New

Science Education Standards, Board on Science Education, Division of

Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National

Academy Press.