การพัฒนาความสามารถในอ่านจับใจความสำคัญ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พัฒนพงษ์ สีหานารินทร์
พรชัย ผาดไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองป้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้ 3 วงจรปฏิบัติการ วงจรที่ 1 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3 วงจรที่ 2 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4-6 วงจรที่ 3 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7-9 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความโดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R จำนวน 9 แผน และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบทดสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและ
เชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R พบว่า วงรอบปฏิบัติการที่ 1 มีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.43 คิดเป็นร้อยละ 52.14 วงรอบปฏิบัติการที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.00 คิดเป็นร้อยละ 65.00 และวงรอบปฏิบัติการที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.14 คิดเป็นร้อยละ 80.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

พรชัย ผาดไธสง, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Roi Et Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2539-2550.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ.

กานต์ธิดา แก้วกาม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีการสอนแบบปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2549). ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรา ชัยอมฤต. (2539). การเปรียบเทียบผลของการสอนเขียนย่อเรื่องกับการสอนให้นักเรียนตั้งคำถามเองที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและการเขียนย่อเรื่องภาษาอังกฤษ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จีเรียง บุญสม. (2543). ผลของเพื่อนช่วยสอนร่วมกับการเสริมแรงที่มีต่อเจตคติ ความสามารถในการอ่านออกเสียงและความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.