การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

อริยวัตร จิตวิมุตติสุข
พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม
เบญจมาศ สุวรรณวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักพุทธธรรมในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน คือ หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1. ฉันทะ คือ ตั้งใจทำงาน 2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงานที่ตนเองได้รับหมอบหมายไว้ 3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน 4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ ในการทำงาน  เพื่อหาข้อบกพร่องในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี อีกทั้งหาจุดเด่นจุดด้อย ลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพื่อนำไปปรับประยุกต์ให้เหมาะสมและโปร่งใสให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด 2) สภาพปัญหาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ปัญหาด้านงบประมาณ และ ปัญหาด้านการบริหารทั่วไป 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของโครงการก่อสร้างในจังหวัดชลบุรีในด้านการบริหารจัดการ ตามหลัก PDCA แล้วการนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ทั้ง ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจึงจะสำเร็จซึ่ง ช่วยลดความสูญเสียที่เนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ และส่งเสริมการทำงานด้วยความปลอดภัย รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย ตลอดจนให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ และการจัดการเวลา เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ปลอดภัยในองค์กรอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

เบญจมาศ สุวรรณวงศ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จิรดา นาคฤทธิ์. หลักการจัดการ (Principles of Management). [ออนไลน์[. แหล่งที่มา:

https://jiradabbc.files.wordpress.com [28 มกราคม 2565].

สมชาย รุ่งเรือง, (2565) ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ

สภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม,วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (1 มกราคม 2565) : 166-167

สมนึก สุภาจันทรสุข, (2565). การบริหารงานของคณะกรรมการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับการป้องกันและลดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการสาขา วิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษ, วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา ปีที่3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2552.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2556) “ตัวแบบ หุ่นจาลอง แบบจำลองหรือโมเดล”. วารสารครุศาสตร์.

(3-4).เมษายน –กรกฏาคม 2556.

อำนวย แสงสว่าง. (2540). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

อำนาจ เจริญศิลป์. (2543). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ : โอ.

เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ .

สุนันทำ เลาหนันท์. (2551). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ศิริอร ขันธหัตถ์. (2551). องค์กรและการจัดการ.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชทยาลัย.

พิทยา บวรวัฒนา. (2564). การบริหารเชิงบูรณาการ. นนทบุรี:สำนักงานข้าราชการพลเรือน.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การจัดการและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบท

วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พิมพ์พิสุทธ์.