ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย
ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง
กาญจนา สุขบัว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เครื่องมือทีใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรอบรู้ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ สุขภาพโดยใช้ KR 20 ได้ค่าเท่ากับ .72 ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ ด้านการตัดสินใจ ด้านการจัดการตนเอง และด้านการรู้เท่าทันสื่อ ทดสอบโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  เท่ากับ 0.85, 0.85, 0.87, 0.81 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p <.001)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง , มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

กาญจนา สุขบัว, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

References

กิจปพน ศรีธานี. (2560).ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 26-36.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

______. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนต์ชัย อโณวรรณพันธ์ (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 17 (1), 15-22.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557).ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

งานสถิติ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2564). รายงานประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม2564,https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc

/reports

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุขและคณะ. (2555). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 15(2), 16-26.

Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., Crotty, K. (2011). Low Health Literacy and Health Outcomes: an Updated Systematic Review. Ann Intern Med. 19, 155(2), 97-107.

Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078.