แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

วรวรรณ สำราญใจ
ทรงเดช สอนใจ
ประภาพร บุญปลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 3) จัดทำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3  มี 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) การกำหนดทิศทางขององค์กร (2) การสร้างและธำรงรักษาทีม (3) การจูงใจและพัฒนาบุคลากร และ (4) การมุ่งเน้นและการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม 2) สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก 3) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านการสร้างและธำรงรักษาทีม ด้านการจูงใจและพัฒนาบุคลากร ด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม  ทั้ง 4 ด้าน มีแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รวมทั้งสิ้น 12 แนวทาง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ทรงเดช สอนใจ , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

ประภาพร บุญปลอด, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

References

ฏิมากร บุ้นกี้. (2563).การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏรำไพพรรณี.

นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนใน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.

ประจักษ์ ศรศาลี. (2564).“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning

Community) สพป.กำแพงเพชร เขต 1.” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :

https://sites.google.com/a/esdc.go.th/kpt1-plc/home. สืบค้นเมื่อวันที่ 29

สิงหาคม 2564.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้แนวในทศวรรษที่ 21.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

วิชาชีพของ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร ไชยบัง. (2555).“โรงเรียนนอกกะลา.”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://lamplaimatpattanaschool. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564.

วิราพร ดีบุญมี. (2557). การศึกษาภาวะผูนําเชิงกลยุทธของผูบริหารสถานศึกษาที่สงผลตอ

ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครขอนแกน.บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยขอนแกน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553).“การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของ

สถานศึกษา.”[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sesa20.go.th. สืบค้นเมื่อ

วันที่ 14 ตุลาคม 2564.

สิริรักษ์ นักดนตรี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหาร

โรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Durin, A. J. (2004). Leadership : Research Findings, Practice, and Skills. 4thed.

New York : McGraw - Hill.