ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการปฏิบัติการแพทย์ทางไกล และทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล

Main Article Content

อโณทัย อินต๊ะกาวิล
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการการพัฒนาการบริหารวิชาการหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์และประธานรายวิชาชั้นปีที่ 4- 6 รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาความต้องการจำเป็นของแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการหลักสูตรแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลในภาพรวม คือ 0.59 (PNIModified =0.59) ขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผล (PNIModified =0.62) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการเรียนการสอน (PNIModified=0.60) และขอบข่ายการพัฒนาหลักสูตร มีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNIModified=0.52) และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ในภาพรวม คือ 0.57 (PNIModified = 0.57)ขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผล (PNIModified = 0.65) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการเรียนการสอน (PNIModified=0.60) และขอบข่ายการพัฒนาหลักสูตร มีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNIModified =0.56)


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุกัญญา แช่มช้อย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn University

References

กรเกียรติ์ สนิทวงศ์. (2563). ระบบการแพทย์ทางไกล(Telemedicine) นวัตกรรมการรักษา.

วารสาร ฬ. 50(5). 5.

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณฺ์มหาวิทยาลัย. (2560). หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

(หลักสูตรปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชิษณุ พันธุ์เจริญ. (2555). แนวคิดในการสื่อสารด้านบริการทางแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร.

(5): 527 – 31.

ณฐวุฒิ ล่องทอง. (2563). ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน (Interpersonal

Communication Skills in Workplace). เข้าถึงจาก https://lms.thaimooc.org/courses/coursev1:CMU+CMU040+2020/about

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2559). คู่มือการเรียนรู้ "Active Learning (AL for Huso at KPRU)".

กำแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พรจิรา ศุภาราศี. (2564). หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ COVID-19.วารสาร ฬ . 65(6). 6.

แพทยสภา. (2563). แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช(Telemedicine) และ

คลินิกออนไลน์. ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 166 ง, หน้า 52-54.

สุวรรณา ตรงต่อศักดิ์ และปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). กระบวนการบริหารหลักสูตรตาม

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วยธุรกิจอัจฉริยะ. Journal of

Humanities Social Sciences, Rajapruk University, 45-54.

ปาณิศา บุณยรัตกลิน. (2562). การสื่อสารกับครอบครัวของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 12(2), 90-99

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(2), 169-176.

สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา Course Development. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 96-103.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในโลกหลังโควิด-19. กรุงเทพฯ : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วิภาดา มุกดา. (2563). การประเมินระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ

ของผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด. วารสาร วิทยาลัยดุสิตธานี. 14(3), 178-197.

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2564). อุดมศึกษาเชิงประจักษ์สู่อนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอนก เทียนบูชา. (2559). หลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นสมรรถนะ. จันทรเกษมสาร, 22(43), 33-47.

American Telemedicine Association. (2006). Telemedicine, Telehealth, and

Health Information Technology. Retrieved from https://www.who.int/goe/policies/countries/usa_support_tele.pdf

J. Koponen et al. (2012). Comparing three experiential learning methods and

their effect on medical students' attitudes to learning communication skills. ISSN: 0142-159X (Print) 1466-187X (Online) Journal homepage: https://www.tandfonline.com/loi/imte20

Masic, I., Ciric, D., Pulja, A., Kulasin, I., & Pandza, H. (2009). Quality assessment

of medical education and use of information technology. Medical Informatics in a United and Healthy Europe, 898-902. doi:10.3233/978-1-60750-044-5-898

S. Shu Z. and C Jiaying (2010). The Effects of Medium (F2F and IM) and

Culture (U.S. and China). Communication Openness in the Workplace, 37-72.

World Health Organization. (2021). Telemedicine and Telehealth embedded

in the digital health ecosystem. Retrieved from

https://www.paho.org/en/information-systems-health-is4h-

blog/telemedicine-and-telehealth-embedded-digital-health-ecosystem