การศึกษาพฤติกรรมการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตในการประกอบวิชาชีพของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

อดิเรก นวลศรี
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตของผู้ประกอบวิชาชีพครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในการประกอบวิชาชีพ ของครูทีมีภูมิหลังต่างกัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตในการประกอบวิชาชีพ กับอายุ และรายได้ ของครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  จำนวน 52 โรงเรียน จำนวน 375 คน และผลการวิจัยพบว่า


1) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 มีแนวทางการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูมีพฤติกรรมการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านเงื่อนไขคุณธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีมีพฤติกรรมการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านหลักความมีเหตุผล ด้านหลักความพอเพียง ด้านหลักความมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านเงื่อนไขความรู้ อยู่ในระดับมาก 2) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 ที่มีเพศ อายุ ลักษณะการจ้างงาน ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิทางการศึกษา สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชา สังกัดกลุ่มสาระวิชา สถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) อายุและรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และในการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

พงศ์เทพ จิระโร, วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

St Theresa International College

References

กมลลักษณ์ พิมสวัสดิ์. (2556). ความแตกต่างระหว่างบุคคล. ออนไลน์.

https://www.gotoknow.org/posts/508136. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564.

คุรุสภา. (2556). ข้อบังคับครุสภา.ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ.2556. ออนไลน์.

http://lpn.nfe.go.th/pranee/UserFiles/Pdf/A73886980.pdf. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564.

จันจีรา โสะประจิน. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทํางานของพนักานผลิตชิ้นส่วน

ยานยนต์: กรณีศึกษา บริษัท ยานภัณฑ์จํากัด (มหาชน). บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉัตรชัย ชัยแก้วและคณะ. (2559). การนำหลักความรู้เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน

ชีวิตประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศึกษาเฉพาะกรณี : สถานีตำรวจภูธรเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฐิติมา ปาลคะเชนทร์. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตาม

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร Veridian E-Journal ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 มกราคม-เมษยน 2556. หน้า 661-680.

บุษยา มั่นฤกษ์. (2556). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร

จัดการของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย :

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พลวัฒน์ ชุมสุข. (2557). รูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของชาวอีสาน.

ออนไลน์. http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/ 78ac97250c5e29cd027be0cc17947ab1.pdf. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564.

พีรญา เชตุพงษ์. (2564). การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของผู้มีงาน

ทำในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564. หน้า 105 – 115.

พลอยพรหม เจิมศิลป. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้เงินที่ส่งผล

ต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์.

https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/Year8-3/8323.pdf. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2564.

มูลนิธิชัยพัฒนา, (2554). เศรษฐกิจพอเพียง. ออนไลน์.

https://www.chaipat.or.th/site_content/ item/3579-2010-10-08-05-24-39.html. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564.

ริเรืองรอง รัตนวิไลกุล. (2543). การศึกษารูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2543. หน้า 95 – 114.

สันทนีย์ ผาสุข และคณะ. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการนำหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในด้านเศรษฐกิจ: กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2564. หน้า 64 – 76.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). วารสารภาวะสังคมไทย.

ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 สิงหาคม 2564 หน้า 1-2.

อุไร สายกระสุน. 2562. พฤติกรรมของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและ

ความจงรักภักดี ต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาลทหารผ่านศึก กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. http://www.advanced-mba.ru.ac.th/advanced-mba-2559/homeweb/7096-IS/Publish/huamark/huamark26/G1/no-6014184018-AD26.pdf. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564.