การศึกษาผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

ยุทธนา พันธ์มี
เฉลิม ทองจอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์เสริมการเรียน วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และ 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ที่สร้างขึ้นกับการเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 30 คนและได้ทำการแบ่งจำนวนนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ จำนวน 17 คน และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 13 คน เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น 2 บท คือ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลและการวิเคราะห์ปัญหากระบวนการสื่อสารและระบบการสอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการหาประสิทธิภาพสื่อนวัตกรรม และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า บทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ 83.97/82.21 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

เฉลิม ทองจอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Kamphaeng Phet Rajabhat University

References

ดานันท์ มลิทอง. (2552). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2542). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับการเรียนด้วยตนเอง. ในเอกสารประกอบการประชุมโสตเทคโนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานใจ ธารทัศนวงศ์. (2564). บทเรียนออนไลน์แบบเปิดสู่มวลชน (MOOCs) เพื่อการศึกษาไทยหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). คุรุสภาวิทยาจารย์.

รัตนะ บัวสนธ์, (2552). การวัดประเมินผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Cerny, Jon Steven. (2020). The Effect of Administrator Concerns, Teacher Use of the Internet, and on-Site Technical Assistasce on student Use of the Internet in Schools. ED.D dissertation, The University of Nebraska-LincoIn.

Doherty, A. (2018).The Internet.: Destined to become a passive Surfing Technology. Education Technology, 38(5), 61-63.