การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเครือข่ายจำปี–ศรีธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2

Main Article Content

ธีระศักดิ์ ศรีปัญญา
กิจพิณิฐ อุสาโท

บทคัดย่อ

 


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเครือข่ายจำปี-ศรีธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ในกลุ่มเครือข่ายจำปี-ศรีธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 45 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 32 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเครือข่ายจำปี-ศรีธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ใน ระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการการประเมินผล (=4.33)  รองลงมาด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 4.28) และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน(=4.2) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (=4.21) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายจำปี-ศรีธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 มีดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมาก แนวทางการรักษาระดับไว้ให้คงที่หรือพัฒนาไปสู่ระดับมากที่สุด คือผู้บริหารและครูควรมีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรร่วมกัน ด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมาก แนวทางการรักษาระดับไว้ให้คงที่หรือพัฒนาไปสู่ระดับมากที่สุด คือผู้บริหารและครูต้องมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียน ด้านการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมาก แนวทางการรักษาระดับไว้ให้คงที่หรือพัฒนาไปสู่ระดับมากที่สุด คือผู้บริหารและครูต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรและแนวทางในการพัฒนา ด้านการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับ มาก แนวทางการรักษาระดับไว้ให้คงที่หรือพัฒนาไปสู่ระดับมากที่สุด คือผู้บริหารและครูต้องมีส่วนร่วมในการประเมินผลหลักสูตรและแผนการสอน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

กิจพิณิฐ อุสาโท, มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

References

กษิรา วาระรัมย์. (2556). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของ

โรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานครที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ).

จันทรานี สงวนนาม.(2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ. (2551). การบริหารวิชาการ. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ชาตมังกร เลนคํามี. (2550). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานของโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณปภัช รุ่งโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณัฐวัฒน์ รักทอง. (2555) การศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของโรงเรียนเครือข่ายเชฟรอนในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ทวิท ระโหฐาน. (2552). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี : ตีรณสาร.

ปิยนุช ทองพรม. (2550). ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ในเขตอําเภอหนองใหญ่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ:ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

ปรีชา กาวิใจ. (2553). การจัดการโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านเทพกาญจนาอุปถัมภ์เขตพื้นที่ การศึกษาเชียงรายเขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่