การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
นันทกานต์ วุฒิศิลป์
สุรางคนา มัณยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 449 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่คาดหวังภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ทักษะประยุกต์สำหรับการทำงาน รองลงมา ลำดับที่ 2 ทักษะขั้นพื้นฐาน และ ลำดับที่ 3 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์, มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

นันทกานต์ วุฒิศิลป์ , มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

สุรางคนา มัณยานนท์, มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ 2566. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe/

ธัญลักษณ์ จำจด. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของครู กศน.ตำบล สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เรื่อง การรับรองสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล. (2563). (2563, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 29 ง. หน้า 6–19.

ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน. (2564). การคาดการณ์อนาคตเทคโนโลยีดิจิทัลประเทศไทย 2035. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/Second%20Deliverable%20RevVer%20TH%20V12%20140819%20FIN.pdf

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2564). สมรรถนะดิจิทัล: Digital competency. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริรัตน์ บุญเขียว. (2564). ความต้องการจำเป็นในการใช้ดิจิทัลของนักเรียนเตรียมทหาร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). e-Mes: ระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย โครงการและกิจกรรม สพฐ. สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก http://203.159.164.62/~eme62/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). การกำหนดระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/obec.pr/posts/1338665433170602

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน กพ.).

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2564). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565. สืบค้นจาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dga-019/dga-024/

สิริศจี จินดามัย. (2561). แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรสำนักงาน ก.ค.ศ.. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Europe Commission. (2014). A common European digital competence framework for citizens. Retrieved from http://eskillsforjobs.lv/wp-content/uploads/2015/03/DIGCOMP-brochure-2014-.pdf

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Krumsvik, R. J. (2008). Situated learning and teachers' digital competence. Education and Information Technologies, 13(4), 279-290.

______. (2011). Digital competence in the Norwegian teacher education and schools. Högre utbildning, 1(1), 39-51.

Maderick, J. A., Zhang, S., Hartley, K., & Marchand, G. (2016). Preservice teachers and self-assessing digital competence. Journal of Educational Computing Research, 54(3), 326-351.