การบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41

Main Article Content

ร้อยโทสุรพร นำนาผล
สามิตร อ่อนคง
มะลิวัลย์ โยธารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 2) เพื่อศึกษาการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 3) เพื่อนำเสนอการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 มี 5 กระบวนการ ดังนี้ (1) หลักสูตร มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมในสถานการณ์โควิด-19 (2) การจัดการฝึก วางแผนการฝึกภาคปกติด้วย Google meet (3) เทคโนโลยีการสอน นำโปรแกรมประชุมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ (4) กิจกรรมการฝึก ได้แก่ รด.Cyber, รด.Network, รด.ต้นแบบนวัตกรรม (5) การประเมินผล วัดความรู้ ความสามารถและมีส่วนร่วม 2) การบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุค ชีวิตวิถีใหม่ ประกอบด้วย (1) หลักสูตร พัฒนาโดยใช้ระบบ PLC เพื่อสร้างความรู้ในการสอนออนไลน์ (2) การจัดการฝึก การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ จัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลด้วยจัดการฝึกเทคนิคที่หลากหลาย เผยแพร่องค์ความรู้เชิงรุกด้วยการติดตามและประเมินผล (3) เทคโนโลยีการสอน สำรวจอุปกรณ์เทคโนโลยี จัดเป็นกลุ่มระบบแพลตฟอร์มออนไลน์  ส่งเสริมสมรรถนะการสร้างสื่อ การพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (4) กิจกรรมการฝึก บูรณาการกิจกรรมการฝึกรูปแบบออนไลน์ (5) การประเมินผล โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ  กำหนดตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับการสอนออนไลน์  โดยให้ผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารมีส่วนร่วมในการประเมิน3) ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ในยุคชีวิตวิถีใหม่ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สามิตร อ่อนคง , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

มะลิวัลย์ โยธารักษ์

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 2) เพื่อศึกษาการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 3) เพื่อนำเสนอการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 มี 5 กระบวนการ ดังนี้ (1) หลักสูตร มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมในสถานการณ์โควิด-19 (2) การจัดการฝึก วางแผนการฝึกภาคปกติด้วย Google meet (3) เทคโนโลยีการสอน นำโปรแกรมประชุมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ (4) กิจกรรมการฝึก ได้แก่ รด.Cyber, รด.Network, รด.ต้นแบบนวัตกรรม (5) การประเมินผล วัดความรู้ ความสามารถและมีส่วนร่วม 2) การบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในยุค ชีวิตวิถีใหม่ ประกอบด้วย (1) หลักสูตร พัฒนาโดยใช้ระบบ PLC เพื่อสร้างความรู้ในการสอนออนไลน์ (2) การจัดการฝึก การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ จัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลด้วยจัดการฝึกเทคนิคที่หลากหลาย เผยแพร่องค์ความรู้เชิงรุกด้วยการติดตามและประเมินผล (3) เทคโนโลยีการสอน สำรวจอุปกรณ์เทคโนโลยี จัดเป็นกลุ่มระบบแพลตฟอร์มออนไลน์  ส่งเสริมสมรรถนะการสร้างสื่อ การพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (4) กิจกรรมการฝึก บูรณาการกิจกรรมการฝึกรูปแบบออนไลน์ (5) การประเมินผล โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ  กำหนดตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับการสอนออนไลน์  โดยให้ผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารมีส่วนร่วมในการประเมิน3) ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบการบริหารการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ในยุคชีวิตวิถีใหม่ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้

References

ปองสิน วิเศษศิริ. (2563). นิวนอร์มัลในโรงเรียนนายร้อย. ส่วนการศึกษา: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. จังหวัดนครนายก

พลตรีปราการ ปทะวานิช. (2560). การฝึกวิชาทหารมีผลต่อการพัฒนาเยาวชนสู่สังคม. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

พลเอก ดรัณ ยุทธวงษ์สุข. (2560). การปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

พัชรี ใจการุณ. (2563). การรับมือไวรัสโคโรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์: อุบลราชธานี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.

โรงเรียนรักษาดินแดน. (2564). การฝึกภาคสนามนักศึกษาวิชาทหาร ประจำปีการศึกษา 2563.: กรุงเทพฯ .ศูนย์การนักศึกษาวิขาทหาร

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ ไวรัส COVID-19. ศูนย์อนามัยที่ 9: นครราชสีมา

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2563). แนวทางปฏิบัติของกระทรวงกลาโหมเพื่อรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal). สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม: กรุงเทพมหานคร.

สิริพร อินทสนธิ. (2563). โควิด19 กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Lorico DS. Lapitan. (2021). An effective blended online teaching and learning strategy during the COVID-19 pandemic. Education for Chemica Engineers