การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมการสื่อสารตามแนวพุทธจิตวิทยา สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ

Main Article Content

พสุ วุฒินันท์
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมการสื่อสารตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อประเมินและนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมการสื่อสารตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารและการดูแลผู้สูงอายุ และการสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบรูปแบบการฝึกอบรมการสื่อสารตามแนวพุทธจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการประเมินคุณภาพระบบ 4 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามวัย ทั้งการได้ยิน การมองเห็น การพูด การรับรู้ และการตอบสนองที่ล่าช้า ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีความเข้าใจธรรมชาติและความต้องการของผู้สูงอายุโดยให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับผู้สูงอายุเพื่อความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกและสิ่งที่ต้องการด้วยความรักและความเมตตา 2) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมการสื่อสารตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นการนำหลักพุทธธรรม ได้แก่ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 และหลักธรรมที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้สูงอายุ ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม และสติกับสมาธิ มาบูรณาการกับแนวคิดทางจิตวิทยา ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ สร้างเป็นกิจกรรมในการอบรมในรูปแบบ “รัก คิดบวก รับฟัง พูดคุย เข้าใจ”

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระครูปริยัติธรรมวิบูล (ชวี อิสฺสโร). (2560), รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงชมนาถ จริยะจินดา. (2561). รูปแบบสมการโครงสร้างการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย, (2559). รูปแบบการสื่อสารอย่างสันติเชิงพุทธจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นนทรี สัจจาธรรม. (2558). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. (1) : 43-45.

รัถยานภิศ พละศึกและคณะ.(2560) ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน–ธันวาคม): 135-150.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และยศ วัชระคุปต์. (2560). ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2547). ผู้ดูแลผู้สูงอายุ: การสังเคราะห์องค์ความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Colaizzi. P. F. (2007). Psychological research as the phenomenologist views it”.Existential phenomenological alternatives for psychology. ed. Ronald S. Valle and Mark King. New York: Oxford University Press. 1978: 48-71 In Danuta M. Wojnar. and Kristen M. Swanson. “Phenomenology an Exploration”. Journal of Holistic Nursing. Vol. 25 No. 3: 172-180.

United Nations. (2021).World Population Prospects 2019. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://esa. un.org/unpd/wpp/Download/Standard/ Population/.