การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

กัลยา พงสะพัง
สมโภชน์ วัลยะเสวี
ธนาพันธ์ นัยพินิจ
นพดล มั่งมี

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 23 คน แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดด้านการตลาด ประกอบด้วย ส่วนประสมทางการตลาด การกำหนดราคา การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด แนวคิดการเพิ่มผลผลิต และหลักการเกษตรอินทรีย์ จากผลการสัมภาษณ์ทำให้ค้นพบปัจจัยและวิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิหลังและการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอินทรีย์ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิงมากที่สุด มีอายุระว่าง 30-39 ปี มากที่สุด รองลงมา 40-49 ปี ระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี มากที่สุด การจำหน่ายสินค้าประเภทพืชผักมากที่สุดและมีจำนวนพื้นที่ จดทะเบียน ต่ำกว่า 10 ไร่ มากที่สุด การดำเนินงานของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จจังหวัดขอนแก่น พบว่า มีทั้งหมด 15 ปัจจัย ดังนี้ 1. ปัจจัยความต้องการของผู้บริโภคมีสูง 2. ปัจจัยเพิ่มกำลังการผลิต 3.ปัจจัยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ 4.ปัจจัยสร้างความแตกต่าง 5.ปัจจัยเอกสารรับรองมาตรฐาน 6.ปัจจัยควบคุมคุณภาพ 7.ปัจจัยเครือข่าย 8.ปัจจัยคุกคามจากภายนอก 9.ปัจจัยการกำหนดราคาขาย 10.ปัจจัยความเข้าใจในแนวคิดเกษตรอินทรีย์ 11.ปัจจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค 12.ปัจจัยการแบ่งกลุ่มตลาด 13.ปัจจัยการเพิ่มผลผลิต 14.ปัจจัยช่องทางการจัดจำหน่าย 15.ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาด 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์มีทั้งหมดสามปัจจัย ได้แก่ 1.ปัจจัยความต้องการของผู้บริโภคมีสูง 2. ปัจจัยการกำหนดราคาขาย และ 3. ปัจจัยการเพิ่มผลผลิต โดยปัจจัยการเพิ่มผลผลิตได้มี การสร้างความแตกต่างในผลผลิตด้วยการเลือกปลูก พืชผักหรือไม้ผลที่แตกต่างกับผู้ประกอบการรายอื่น การได้รับเอกสารรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ การสร้างการสื่อสารทางการตลาดด้วยการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อภาครัฐบาลอันจะนำมาซึ่งการสนับสนุนด้านต่าง ๆ และผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตด้านแรงงานที่ดีหรือมีการจัดการแรงงานให้เหมาะสม การควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้มีความสมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอก การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงความต้องการที่แท้จริง และการเพิ่มผลผลิตจากการรับซื้อผลผลิตจากผู้ประกอบการรายอื่นการวางแผนการปลูกเพื่อการหมุนเวียนผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอและการเลือกปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สมโภชน์ วัลยะเสวี, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

College of Asian Scholars

ธนาพันธ์ นัยพินิจ , วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

College of Asian Scholars

นพดล มั่งมี, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

College of Asian Scholars

References

กนกวรรณ แย้มงาม, สุกัลยา เชิญขวัญ และอรุณี พรมคำบุตร. (2563). พฤติกรรมการซื้อและทัศนคติต่อข้าวอินทรีย์ของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร, 48(1), 851-858.

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์, (2562), มลค่าตลาดโลกพุ่ง 3.55 ล้านล้านบาท ดันไทยเป็นผู้นำ“เกษตรอินทรีย์”ในอาเซียน. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2564, จาก https://bit.ly/2CZmQVP

คริษฐ์สพล หนูพรหม. (2558). การผลิตผักอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(6), 955-969.

ธนาคารกรุงเทพ. (2562). สร้างความเข้าใจก่อนเข้ายุคผู้สูงอายุครองเมืองในปี 2050. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564, จาก https://bit.ly/2BDF2nf

ปีลันธนา แป้นปลื้มและประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเต็มใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในตลาดนัดสีเขียวและร้านค้าเฉพาะด้านแบบมีสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 170-180.

พรรณรี สุรินทร์. (2559). ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลไม้ออร์แกนิคในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มรกต กำแพงเพชร, สวรรยา ธรรมอภิพล, และนรินทร์ สังข์รักษา. (2562). คุณลักษณะผู้ประกอบการเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจเกษตรสีเขียว. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 262-275.

รัชนี รูปหล่อ และวัลภา ว่องวิวิธกุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). โอกาสทำเงินเกาะกระแสอาหารสุขภาพ. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2564, จาก https://bit.ly/2A31qbJ.

สร้อยสุดา แสงจันทร์. (2560). แนวทางการเพิ่มผลผลิตของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (ผักปลอดสารพิษ) ของสมาชิกชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2562). สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น หนุนสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในงานมหกรรมสินค้าอินทรีย์วิถีธรรมชาติ. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564, http://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG190305154048173

สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. (2560). มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564, จาก https://bit.ly/2U8EPHU.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). แนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจระดับภาค. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.oac.go.th/assets/portals/1/files /ebook/2562/Guidelines.pdf.

.(2562). นโยบายเกษตรอินทรีย์ เร่งขับเคลื่อนแผน เพิ่มพื้นที่ให้ได้ 1.3 ล้านไร่ ตามเป้าในปี 65. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2564, จาก https://bit.ly/3hvMmka.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.ns0.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N30-07-62-1.aspx.

เอริสา ยุติธรรมดำรง. (2563). การสื่อสารการตลาค 4.0: ความท้าทายของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพสำหรับผู้บริโภคสูงอายุ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 8(1), 184-197.

McElwee, G. (2006). The enterprising farmer: a review of entrepreneurship in agriculture. Journal of the Royal Agricultural Society of England, 167(9).