รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระบวนการจัดการความรู้

Main Article Content

คมศิลป์ ประสงค์สุข
ประพันธ์ ธรรมไชย
วินัย ไชยวงค์ญาติ
ณัฏฐพร จักรวิเชียร
วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระบวนการจัดการความรู้ 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระบวนการจัดการความรู้ และ3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระบวนการจัดการความรู้ พื้นที่วิจัยคือ โรงเรียนบ้านทุ่งกองมู เป็นโรงเรียนแกนนำด้านการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกข้อมูลใช้บันทึกระหว่างการดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า มีองค์ประกอบ ได้แก่  1) พัฒนาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา 2) วางแผนพัฒนา 3) ปฏิบัติตามแผน 4) ติดตามและปรับปรุง  5) ประเมินและสรุปผลการทดลองการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่า มีประโยชน์ เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษา ช่วยให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ครอบคลุมอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจ และความคิดเห็นต่อความสำเร็จของการดำเนินการตามรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ประพันธ์ ธรรมไชย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

วินัย ไชยวงค์ญาติ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ณัฏฐพร จักรวิเชียร , มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

References

กมลนิตย์ วิลัยแสง. (2559). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูโรงเรียนใน

สังกัดองค์การบริหารจังหวัดระยอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2551). รูปแบบการจัดการความรู้ในการประกันคุณภาพการศึกษาของ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วารสารมนุษศาสตร์ (ม.ค.-มิ.ย. 2551). ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 หน้า 113-125).

ไชยยศ เรือสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอ

เดียนสโตร์.

ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามหาสารคาม เขต 1 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิผลของสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

บุญใจ ชะเอม. (2562). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกาของโรงเรียน

สังกัดกรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เลิศณรงค์ นามวงศ์ชัญ (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารมืออาชีพในโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์. จำกัด

สมาน อัศวภูมิ. (2550). “การใช้การวิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก.”

วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : 76-84.

สุวัฒน์ เงินฉ่ำ. (2551). การพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษา

ด้วยการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.

สมนึก ศุภโสภาพงศ์. (2562). การพัฒนาตัวแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝันที่ประสบ

ผลสำเร็จ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์.

อนุพงศ์ ไชยบุตร. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกัน

คุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร