ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของผู้สอนระดับอุดมศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Main Article Content

ภูริ วงศ์วิเชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการทำวิจัยกับแรงจูงใจในการทำวิจัยของผู้สอนระดับอุดมศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการทำวิจัยของผู้สอนระดับอุดมศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สอนระดับอุดมศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 162 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) และจากการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับแรงจูงใจในการทำวิจัย ของผู้สอนระดับอุดมศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา 2) ปัจจัยในการทำวิจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับแรงจูงใจในการทำวิจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความรู้ และประสบการณ์ในการทำวิจัย (X7) ปัจจัยด้านการเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ (X8) และปัจจัยด้านการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา (X9) 3) ตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายแรงจูงใจในการทำวิจัยประกอบด้วย ปัจจัยด้านความรู้ และประสบการณ์ในการทำวิจัย (X7) ปัจจัยด้านการเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ (X8) และปัจจัยด้านการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา (X9) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยสามารถเขียนสมการในรูปความสัมพันธ์แบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ Y' = 1.07 + 0.11 X7 + 0.51X8   + 0.07X9


                                  Z' = 0.13Z7 + 0.62Z8   + 0.13Z9

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 259 ง. 13 พฤศจิกายน 2558.

กอบกุล ต๊ะปะแสง. (2562) ที่ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู

และบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564.

https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat17/6214060033.pdf.

นรา หัตถสินและวิริญญา ชูราษี. (2560). การเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ

ของอาจารย์: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560. หน้า 29-36.

นิติยา ศรีพูล และสมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของ

อาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564. https://ca.hu.ac.th/doc/academic/บทความวิจัย%20อ.นิติยา.pdf.

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ

(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553

ริญญาภัทร์ พสิษฐ์กุลเวช และคณะ. (2561). แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงาน

ประจำสู่งานวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 29 - 30 มีนาคม 2561.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี (2557) การถอดองค์ความรู้แรงจูงใจในการทำวิจัย.

สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564. http://164.115.41.60/knowledge/?p=150

วนิดา พิงสระน้อย. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่ม

วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2550). พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ:

กระทรวงวัฒนธรรม.

สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยนและคณะ. (2559). การศึกษาอิทธิพลของความสามารถในการวิจัย แรงจูงใจ

ในการทำวิจัย และกระบวนการสนับสนุนจากโรงเรียนต่อความต่อเนื่องในการวิจัยของครู: การประยุกต์ใช้โมเดลพื้นผิวการตอบสนอง. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2559) หน้า 157 – 187.

อาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากร คณะ

บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.