การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์ สู่ความเป็นเลิศสำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร

Main Article Content

สันติ มุสิกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์สู่ความเป็นเลิศ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์สู่ความเป็นเลิศ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์สู่ความเป็นเลิศ ของนักเรียนโรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 อุบลราชธานี - อำนาจเจริญ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 23 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร จำนวน 515 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวน 9 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์, หลักสูตรสถานศึกษา, แบบประเมินหลักสูตร, แผนการจัดการเรียนรู้, แบบประเมินศักยภาพการปฏิบัติทางกีต้าร์, แบบสอบถาม แต่ละแบบมีค่า IOC เท่ากับ 0.8-1.0  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.23-0.78 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.91 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) หลักสูตรวิชาศิลปะ มีการแยกเป็นรายชั้น นักเรียนมีต้องการพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์ 2) ได้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์สู่ความเป็นเลิศ จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ มีผลการประเมินโดยรวมผ่านเกณฑ์ทุกหน่วย ความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการใช้หลักสูตรมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.74/83.55 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ศักยภาพในการบรรเลงกีต้าร์ของนักเรียนระดับมาก ร้อยละ 52.63 ระดับดี ร้อยละ 42.10 และระดับปานกลาง ร้อยละ 21.05 4) ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพทางกีต้าร์สู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
Research Articles

References

เขมนิจ รัตนเดชาภิวัฒน์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การขับร้องประสานเสียง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562 จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2307

จารึก ศุภพงศ์. (2562). การศึกษาการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรดนตรี สำหรับนักเรียนผู้มี

ความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา

กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562 จาก

http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=64563

ชม ภูมิภาค. (2524). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัทวีพริ้นท์ จำกัด.

นัติเทพ การีเทพ. (2559). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิค ของอาจารย์เกียรติ เอกศิลป์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9 (2), 368.

พรทิพย์ สายแวว. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรีสากลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(1), 85.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตร มโนทัศน์ การประยุกต์ใช้ พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มารุต พุฒผล. (2562). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ยงยุทธ เอี่ยมสะอาด. (2562). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 6(2),78.

วิพุธ ตั้งแต่ง. (2562). กระบวนการเรียนการสอนกีตาร์แจ๊สระดับปริญญาบัณฑิตในประเทศไทย. หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชัณษา รักยินดี และณัฐรดี ผลผลาหาร. (2557). ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการ เรียนการสอน วิชาดนตรี (ศูนย์ดนตรี) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรปรียา ญาณะชัย, ณฐพร อารีญาติ, พนมพร ศิริถาพร, ดุษฎี อุปการ และวัชราภรณ์

บุญยรักษ์. (2561) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางดนตรีของนักศึกษาโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือพี่สอนน้อง. VeridianE-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2993.

Weinstein and Fantini. (1972). The Disadvantaqed. New York,

Willeylnterscience, 487.