การพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร

Main Article Content

สันติ มุสิกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ การปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร อำเภอโพธิ์ไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 อุบลราชธานี – อำนาจเจริญ จำนวน 21 คน โดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 ชุด 2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) จำนวน 9 แผน 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน จำนวน 30 ข้อ 4. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.41/80.0 2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.67 หมายถึง นักเรียนมีความรู้และทักษะปฏิบัติเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 67 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติกีต้าร์เบื้องต้น (Guitar Basic) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กฤตธี สีหมนตรี. (2557). สถานการณ์ในการเรียนดนตรีและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการเรียนดนตรีอย่างรับผิดชอบของเยาวชนในโครงการศึกษาดนตรี สำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรพล สุดเนตร, พนัง ปานช่วย, พิมลมาศ พร้อมสุขกุล และประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2561). การหาประสิทธิภาพชุดการสอนปฏิบัติรีคอร์เดอร์แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย วิทยาลัยนาฏศิลป์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 6(2), 31-39.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2537). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ณัฐกร ชาคโรทัย และนัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2561). การพัฒนาชุดการสอนกีตาร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ แผนกสามัญหญิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.

นิรันดร กุลธิ. (2561). การพัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้แบบฝึกทักษะกีต้าร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโคกสะอาด วิทยาคม. เมื่อ 5 เมษายน 2563 จากเว็บไซต์ https://www.academia.edu/34396564/.

พงศธร ห้องแซงและคมกริช การินทร์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะประกอบการเรียน การสอนกีตาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561, 292.

ภณิดา ชัยปัญญา. (2541). การวัดความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ: แสงอักษร.

ภูมรินทร์ ฝาชัยภูมิ. (2560). ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ใช้ชุดการฝึกกีตาร์เบื้องต้นตาม แนวคิดของซูซูกิในโรงเรียนดนตรีวรรณกานต์ จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระพงษ์ มีแก้ว. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะปฏิบัติกีต้าร์คลาสสิค สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชรวิชญ์ นรภาร. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีตาร์คลาสสิกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2550). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เสนีย์ ศิริสวัสดิ์. (2558). การศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนปฏิบัติกีตาร์ขั้นพื้นฐานชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัสสัมชัญ จังหวัดนครราชสีมา.บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw Hill.

Hatfield and Huseman, (1987). Job Satisfaction of Thai and U.S. Educational Technologists in Higher Education. Ph.D. Thesis, Missouri: University of Missouri Columbia.

Schmid, W., & Koch, G. (1982). Hal Leonard Guitar Method, Complete Edition: Books 1. Milwaukee: Hal Leonard Corporation.

Thorndike, Robert, L. (1969). Measurement and evaluation in psychology and education. New York: John Wiley & Son.